Ornament

เกี่ยวกับเรา

มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย

เกี่ยวกับเรา

มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย (Thai Civic Education Foundation – TCE Foundation) เป็นสถาบันการศึกษาอิสระที่ทำงานเพื่อบ่มเพาะวัฒนธรรมความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย มูลนิธิฯ เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและไม่สังกัดการเมืองฝ่ายใด

วิสัยทัศน์

การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองนักเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมที่มีความคิดเชิงวิพากษ์ ตั้งคำถาม และลงมือทำ เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบและโครงสร้างที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมที่มีอยู่

พันธกิจ

พันธกิจของมูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย (Thai Civic Education – TCE Foundation) คือการสนับสนุนครู ผู้ฝึกสอนครู และหน่วยงานการศึกษา ในการทำงานเพื่อจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยเพื่อให้เกิดพลเมืองนักเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม นอกจากนี้ TCE ยังทำงานเป็นหน่วยประสานงานหรือคณะอำนวยการของเครือข่ายอีกด้วย

ปฏิทินกิจกรรม

  • หนังสือรวมบทความ เมื่อครูไทยเรียนรู้การสอนประชาธิปไตยในออสเตรเลีย เล่มนี้เป็นความพยายามสรุปบทเรียนจากการศึกษาดูงานของคณะครู และนักการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่ได้รับโอกาสเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับ ดร.เดวิด ซิงเยอร์ มหาวิทยาลัยโมนาชThai Civic Education

  • ศูนย์ประสานงานเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง (Thai Civic Education) ร่วมกับสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “นักการศึกษากับการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล” ให้กับกลุ่มนักการศึกษาหลากหลายสาขากว่า 13 สถาบันในเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือThai Civic Education

โพสต์ล่าสุด

“11 เรื่องราว การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” ประจำปี 2021

รวมบทสัมภาษณ์ Civic Space เรื่องราวความคิดเห็น ทั้ง 11 ประเด็นจากนักเรียน ครู อาจารย์ นักการศึกษา และนักกิจกรรม ที่เราเชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยน ถกเถียง ตั้งคำถาม หรือสร้างความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพลเมืองประชาธิปไตยในมิติที่หลากหลายสำหรับปี…

12 ห้องเรียน สร้างพลเมืองประชาธิปไตย

รวบรวมบทสัมภาษณ์ Civic Classroom ตลอดปี 2021 ทางเราหวังว่า เรื่องราวทั้ง 12 ห้องเรียนจากครู อาจารย์ และนักกิจกรรม จะเป็นแรงบันดาลใจ ความเป็นไปได้ใหม่ และความหวัง ให้สำหรับใครหลายๆคนในการทำงานการศึกษาเพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรม ในปี…

บทสัมภาษณ์ Civic Classroom ตอนที่ 20 : บทเรียนวิชาสังคมที่ว่าด้วยเรื่องเพศ ศาสนา และความไม่เป็นธรรม

หลายคนก็อินไปด้วยเพราะว่าบางเหตุการณ์อย่างการโทษเหยื่อก็ยังเป็นปัญหาร่วมที่คนในสังคมไทยเราเจอเหมือนกัน เราชวนคุยต่อว่าวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่นี่มาจากความเชื่อแบบไหน นักเรียนค้นๆ กันต่อไปแน่นอนก็จะไปเจอว่าคำสอนแบบขงจื้อมีอิทธิพลมากกับการสร้างวัฒนธรรมนี้ในเกาหลี แต่มันไม่จบเท่านั้น ความไม่เท่าเทียมทางเพศที่มักจะถูกนำเสนอในแง่ปัญหาเชิงวัฒนธรรมหรือความเชื่อทางศาสนา อาจเป็นแค่ภาพลวงตาเพื่อให้กติกาของเกมที่ใหญ่กว่ายังคง Function ต่อไปก็ได้ บทสัมภาษณ์ Civic Classroom ตอนที่ 20 : บทเรียนวิชาสังคมที่ว่าด้วยเรื่องเพศ ศาสนา…

Civic space ตอนที่ 11 มองการสร้างพลเมืองเชิงวัฒนธรรม ผ่าน การจัดการศึกษาชายแดน

เวลาเรามองผู้เรียน เราไม่สามารถมองว่าเขามาโรงเรียนเพียงตัวเปล่า แต่เด็กมีภูมิหลังทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ความคิดหรือความเป็นชาติพันธุ์ของเขาข้ามเข้ามาในพื้นที่ของโรงเรียนด้วย บทสัมภาษณ์ Civic space ตอนที่ 11 มองการสร้างพลเมืองเชิงวัฒนธรรม ผ่าน การจัดการศึกษาชายแดน อาจารย์วสันต์ สรรพสุข ที่พาให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า…