Civic Classroom ตอนที่ 11 : เมื่อนอกห้องเรียนคือพื้นที่เรียนรู้

ครูทวิช ลักษณ์สง่า ครูในเครือข่าย Thai Civic Education ที่มองเห็นว่า อคติทางเชื้อชาติต่อแรงงานข้ามชาติได้ฝังรากลึกมาอย่างยาวนานในสังคมไทย เขาจึงได้พัฒนาบทเรียนที่ให้นักเรียนก้าวออกนอกห้องเรียนเพื่อไปพูดคุยกับแรงงานโดยตรง ทำให้อคติที่นักเรียนเคยมีได้จางลงในความรู้สึก เมื่อนักเรียนพูดถึงประเทศเพื่อนบ้านหรือแรงงานข้ามชาติ นักเรียนค่อนข้างจะจะมีมุมมองอคติต่อพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นคนเมียนมาร์ กัมพูชา ลาว เราจึงได้สอบถามนักเรียนไปว่า มุมมองอคติเหล่านี้ พวกเขาเขารับรู้มาอย่างไร…

Teaching For Social Justice คืออะไร?

Teaching for Social Justice เป็นมุมมองการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้มองเห็นการกดขี่หรือความไม่เป็นธรรมทางสังคมทั้งในระดับปัจเจกและสังคม และพัฒนาสำนึกความเป็นพลเมืองของนักเรียน ให้กล้าลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคมที่ไม่ยุติธรรม ซึ่งมุมมองดังกล่าวให้คุณค่าทางประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานสำคัญ . ดังนั้น Teaching for Social Justice มีเป้าหมายผลักดันให้ครูและนักเรียนได้ร่วมสำรวจ พูดคุย และวิเคราะห์การกดขี่ผ่านมิติ ชนชั้น…

Civic Teacher ตอนที่ 9 การ์ตูนกับการสอนเรื่องพลเมือง

ทำไมต้องสอนเรื่องพลเมืองด้วยการ์ตูน การ์ตูนเรื่องอะไรบ้าง ที่ช่วยสร้างมุมมองพลเมืองประชาธิปไตย พบกับบทสัมภาษณ์ผู้ทำงานด้านพลเมือง ที่มาบอกเล่าความเห็นว่า การ์ตูนสามารถนำมาสอนเรื่องพลเมืองอย่างไรได้บ้าง . แด่วันสิทธิมนุษยชน ( Human Rights day) การ์ตูน เรื่อง เอคโค่ จิ๋วก้องโลก เรื่องราวการผจญภัยของเด็ก ๆ…

Civic Classroom ตอนที่ 7 : เมื่อสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องไกลตัว

บทสัมภาษณ์ครูศศิกานต์ ชาติสุวรรณ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม ครูสอนวิชาสังคมศึกษาที่ทำให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องใกล้ตัวของนักเรียน โดยอาศัยกระบวนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ และสร้างพื้นที่ปลอดภัย ครูศศิกานต์ มองว่า วิชาหน้าที่พลเมืองที่ผ่านมา เน้นให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่เชื่อฟังคำสั่งของรัฐ แต่แท้จริงควรเป็นวิชาที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในชีวิตพวกเขา ดังนั้นประเด็นการกลั่นแกล้งในโรงเรียน จึงเป็นประเด็นสำคัญที่เธอนำมามาสอนนักเรียนชั้น ม.2 ที่เชื่อมโยงกับหลักสิทธิมนุษยชน . คำว่า…

สอน เพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

สอนเพื่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน : แนวคิดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนศึกษา Education for Democratic Citizenship and Human Right Education (EDC/HRE) . ความท้าทายของโลกในศตวรรษที่ 21 ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ การเหยียดเชื้อชาติ เพศ…

จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กคนนี้? ทำอย่างไรให้ชั้นเรียนเต็มไปด้วยคำถาม

ความสามารถในการตั้งคำถามด้วยตัวเองเป็นสิ่งจำเป็นต่อทำให้นักเรียนเป็นคนที่เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจำเป็นต่อการเป็นพัฒนาความเป็นปัจเจกที่สามารถคิดและค้นคว้าหาคำตอบเองได้และย่อมสำคัญต่อพลเมืองประชาธิปไตยที่ต้องแข็งขันในการหาความรู้และข้อมูลอยู่เสมอ . ครูส่วนใหญ่เข้าใจข้อดีของการให้นักเรียนตั้งคำถามเองได้ และก็หวังให้นักเรียนตั้งคำถามในชั้นเรียน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือช่วงการถามคำถามมักไม่ได้สปอตไลท์ในชั้นเรียน การให้นักเรียนถามคำถามมักจะเป็นช่วงเสริมเพื่อฆ่าเวลาตอนท้ายคาบ หรือถามเพื่อเช็คความเข้าใจเท่านั้นเอง . ลองนึกดูครับ พอถึงท้ายคาบเราก็จะถามว่า “อ้าว มีใครมีคำถามอะไรไหม?” ทั้งที่เราก็รู้ว่านักเรียนอยากจะเลิกเรียนแล้วเดินไปเรียนวิชาอื่น หรือท้ายการนำเสนอหน้าชั้นเรียน เราถามนักเรียนว่า “มีใครมีคำถามให้เพื่อนไหม” ทั้งๆ…

ช่วงเวลาแห่งการปรองดอง และการระลึกถึงผู้ที่สูญเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2

8-9 พ.ค. ช่วงเวลาแห่งการปรองดอง และการระลึกถึงผู้ที่สูญเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 (Time of Remembrance and Reconciliation for Those Who Lost Their Lives during the…

‘แรงงาน’ กับมุมมองเรื่องความเป็นธรรมทางสังคม

  ปฏิกิริยาของผู้คนในสังคมสื่อถึงอุดมคติเกี่ยวกับสังคมที่ดีของเราเอง สำหรับฝ่ายที่ไม่ค่อยเข้าข้างแรงงาน มักมองว่าความไม่เท่าเทียมเป็นธรรมชาติของการแข่งขัน  หากเราเชื่อในเสรีนิยมในทางเศรษฐกิจก็จำต้องยอมรับว่าการแข่งขันย่อมทำให้เกิดคนที่ชนะและคนที่แพ้อย่างเลี่ยงไม่ได้…แต่หากเราเชื่อว่ามันไม่แฟร์สำหรับการเลือกเกิดไม่ได้ ก็ย่อมเลือกที่จะหาทางแก้ไขสภาพดังกล่าว ตราบใดที่เรายังไม่สามารถไปพ้นจากระบบการผลิตแบบนี้ได้    ทำไมจึงคิดว่าประเด็นเรื่องแรงงานเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องนำมาถกเถียงพูดคุยกัน? จะตอบคำถามข้างต้นได้ตรงกับที่คิด อาจต้องทำสองเรื่องให้ชัดคือ แรงงานที่ว่าคือคนกลุ่มไหน และสำคัญในประเด็นอะไร เรื่องใด ประเด็นแรก แรงงานสำหรับผมอยู่ในความหมายเฉพาะกลุ่มคนบางพวก และเป็นบทบาท/สถานะของพวกเขาภายใต้ระบบการผลิตแบบนี้เท่านั้น ประเด็นที่สอง แรงงานมีความสัมพันธ์กับมิติของการผลิต…

บทสัมภาษณ์วันสากลแห่งการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติ (4)

ครู ต้องเป็นแบบอย่างในการเห็นคุณค่าของทุก ๆ คนที่แตกต่างกัน และให้ความแตกต่างนั้นอยู่รวมกันในสังคมได้ ต้องออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนเห็นคุณค่าของคำว่า มนุษย์ ที่เท่าเทียมกัน จะเอารูปลักษณ์ภายนอก ชาติกำเนิด ถิ่นอาศัย หรือจุดด้อยของคนอื่น มาตัดสินแบ่งชนชั้นกันไม่ได้   มีประสบการณ์พบเจอการเหยียดผิว/เหยียดชาติจากนักเรียน หรือสังคมในโรงเรียนบ้างไหม ครูคมเพชร: เนื่องจากผมสอนคือโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์…

บทสัมภาษณ์วันสากลแห่งการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติ (3)

การห้ามไม่ให้คนเหยียดกันเลยมันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ แต่ครูสามารถสอนให้เด็กควบคุมสัญชาตญาณพวกนี้ได้    มีประสบการณ์พบเจอการเหยียดผิว/เหยียดชาติจากนักเรียนหรือสังคมในโรงเรียนบ้างไหม ครูก้อง: เคยเจอการเหยียดเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ทั้งแบบโดยตรงและทางอ้อมครับ โดยตรงก็เช่นเพื่อนเหยียดเพื่อน หรือแม้แต่ผู้ปกครองเหยียดเพื่อนของลูก ในรูปแบบการกดขี่ทางคำพูดให้ตัวเองอยู่เหนือกว่าเขาหรือเพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์ของเขาลง ส่วนการเหยียดทางอ้อมหรือบางทีตัวของผู้กระทำอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เช่นผู้ใหญ่ใจดีเอาของ เสื้อผ้า ทุนการศึกษามามอบให้กับเด็กและได้กล่าวให้กำลังใจให้กับเด็กแต่พูดในเชิงให้เด็กเข้าใจและอดทนต่อชาติกำเนิดที่ตัวเองเป็นอยู่ ซึ่งผมมองแล้ว ในส่วนตัวคิดว่าผู้ใหญ่ใจดีเหล่านี้กำลังตอกย้ำให้เด็ก ๆ กลายเป็นพลเมืองชั้นสองของรัฐอยู่