การสร้างพลเมืองผ่านกระบวนการสืบสอบทางปรัชญา

สำหรับหลาย ๆ คน หัวใจของประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งเพื่อหาตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ตัดสินใจแทนเราในสภาและผลักดันนโยบายตามที่พวกเขาได้หาเสียงไว้ สาเหตุที่ต้องวางระบบแบบนี้ก็เพราะในสังคมที่มีประชากรจำนวนมาก จึงไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยทางตรงที่ให้ประชาชนทุกคนเข้ามาอยู่ในสภาร่วมกันได้จริง ทำได้เพียงเลือกตัวแทนที่เราไว้ใจในแนวคิดและความสามารถเข้าไปทำหน้าที่แทนเราเท่านั้น แม้ระบบตัวแทนแบบนี้จะมีข้อดีในการแบ่งงานกันทำและลดภาระที่ทุกคนจะต้องแบ่งเวลาเข้ามาทำงานทางการเมือง แต่มันก็สร้างปัญหาตามมา ในทางปฏิบัติ มันเสี่ยงจะทำให้เกิดปัญหา “ประชาธิปไตย 4 วินาที” ที่การมีส่วนร่วมของประชาชนถูกลดทอนลงเหลือเพียงการหย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น โดยละเลยมิติการมีส่วนร่วมผ่านการแสดงความคิดเห็นและริเริ่มนโยบายโดยประชาชนหรือตรวจสอบการทำงานของผู้แทนหลังการเข้ารับตำแหน่ง เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เสี่ยงที่นโยบายที่ออกมาจะไม่สะท้อนความต้องการของประชาชนจริง ๆ …

3 เรื่องน่ารู้วันสงกรานต์ ตอนที่ 3 ‘สงกรานต์ไม่ใช่ปีใหม่หากนับเดือนแบบไทย’

เมื่อพิจารณาจากเดือนที่เล่นสงกรานต์ จะเห็นชัดเจนว่าเป็นเดือน4 หรือเดือน 5 ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไม่ใช่เดือนอ้ายที่ แปลว่า 1 แต่ปีใหม่ดั้งเดิมจริง ๆ คือ เดือนหลังน้ำนอง ซึ่งก็คือเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม โดยมีการลอยกระทงจุดประทีปเพื่อเฉลิมฉลอง แต่สาเหตุที่เข้าใจว่าสงกรานต์เป็นวันปีใหม่เพราะใช้เป็นฤกษ์ยามในการเปลี่ยนศักราชตามตำราโหราศาสตร์ของพราหมณ์ อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับวันสงกรานต์เพิ่มเติม และดาวน์โหลดไฟล์หนังสือ สาดน้ำสงกรานต์ วัฒนธรรมร่วมรากเอเชียได้ที่: http://thaiciviceducation.org/สาดน้ำสงกรานต์-วัฒนธรร/

3 เรื่องน่ารู้วันสงกรานต์ ตอนที่ 2 ‘ตำนานสงกรานต์ เป็นเรื่องราวดั้งเดิมของภูมิภาคอุษาคเนย์’

เรื่องราวเกี่ยวกับนางสงกรานต์ถูกสืบทอดกันมายาว นานในภูมิภาคอุษาคเนย์นี้ มีหลายสำนวน หลายตำนาน สำนวนดั้งเดิมยังพอเห็นได้ในกลุ่มที่พูดภาษาตระกูลไ ทเขตสิบสองปันนา ประเทศจีน แต่สำนวนที่แพร่หลายในไทยจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกั บท้าวกบิลพรหมตั้งคำถามธรรมกุมารซึ่งถูกแปลงผสม ผสานกลายเป็นอินเดีย อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับวันสงกรานต์เพิ่มเติม และดาวน์โหลดไฟล์หนังสือ สาดน้ำสงกรานต์ วัฒนธรรมร่วมรากเอเชียได้ที่:  http://thaiciviceducation.org/สาดน้ำสงกรานต์-วัฒนธรร/

3 เรื่องน่ารู้วันสงกรานต์ ตอนที่ 1 ‘สงกรานต์ในประเทศอุษาคเนย์ไม่ได้มาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย’

การสาดน้ำสงกรานต์และรดน้ำเป็นประเพณีร่วมกันของประเทผศในภูมิภาคอุษาคเนย์ ไม่ใช่ประเพณีที่สืบทอดมาจากอินเดียและศรีลังกา จัดขึ้นเพื่อแสดงการเปลี่ยนผ่านของฤดูกาลโดยใช้น้ำ เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์เพื่อขับไล่ความแห้งแล้งและยังรดน้ำเพื่อไหว้ผีบรรพบุรุษและผู้สูงอายุในชุมช นเพื่อก่อให้เกิดสิริมงคลต่อชุมชนและครอบครัว อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับวันสงกรานต์เพิ่มเติม และดาวน์โหลดไฟล์หนังสือ สาดน้ำสงกรานต์ วัฒนธรรมร่วมรากเอเชียได้ที่: http://thaiciviceducation.org/สาดน้ำสงกรานต์-วัฒนธรร/

ช่วงเวลาแห่งการปรองดอง และการระลึกถึงผู้ที่สูญเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2

8-9 พ.ค. ช่วงเวลาแห่งการปรองดอง และการระลึกถึงผู้ที่สูญเสียชีวิตในสงครามโลกครั้งที่ 2 (Time of Remembrance and Reconciliation for Those Who Lost Their Lives during the…

เลือกตั้ง 2562 : สรนันท์ เวียงคำ โรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพฯ

คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้กับสังคมไทยได้บ้าง? มองเห็นการเปลี่ยนแปลงในระดับตัวบุคคล จากเดิมที่จะสงวนท่าที ไม่กล้าพูด สนทนาเกี่ยวกับการเมืองแบบตรงๆ ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกล้าที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการเมืองมากขึ้นโดยเฉพาะผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งมีความตระหนักรู้ถึงพลังของประชาชนในการกำหนดทิศทางของประเทศโดยผ่านการเลือกตั้ง การเปลี่ยนแปลงในระดับครอบครัว ซึ่งแต่เดิมมีการแบ่งกลุ่มเป็นพรรคมาร พรรคเทพ ต่อมาแบ่งแบบเสื้อเหลืองเสื้อแดง ซึ่งครอบครัวไหนสนับสนุนฝั่งใด คนทั้งครอบครัวจะสนับสนุนตามแต่ในการเลือกตั้งในครั้งนี้มีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายลงรากลึกถึงในระดับครอบครัว กล่าวคือ มีการแบ่งเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ กับ กลุ่มผู้สูงอายุ…

เลือกตั้ง 2562 : ภาสุดา ภาคาผล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้กับสังคมไทยได้บ้าง? จากกระแสการเลือกตั้งตอนนี้ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือการเกิดความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนที่ตระหนักถึงสิทธิ และหน้าที่ของตนเอง และหากทุกคนออกไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง แสดงจุดยืนและมีการแสดงความคิดเห็นบนฐานข้อมูลแห่งความเป็นจริงอย่างรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ ก็จะสามารถช่วยผลักดันให้สังคมไทยก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง

เลือกตั้ง 2562 : ธนัญญา ต่อชีพ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย

คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้กับสังคมไทยบ้าง ? แม้กติกาในการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีข้อกังขาว่าถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มผู้มีอำนาจ จึงอาจยังไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ในเชิงโครงสร้าง   แต่ก็นับเป็นโอกาสและความหวังที่พลเมืองจะได้ส่งเสียงและกำหนดทิศทางอนาคตของประเทศด้วยตนเองบ้าง เราบอบช้ำมากพอแล้ว กับอนาคตที่ไม่ได้เลือก การเลือกตั้งในครั้งนี้จึงเหมือนเป็นการปลดล็อก ให้พลเมืองได้ออกมาแสดงพลังในฐานะเจ้าของประเทศ และนับเป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระยะยาว ในช่วงที่ผ่านมาเราได้เห็นปรากฏการณ์ที่พลเมืองตื่นตัวมากขึ้นในการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านช่องทางต่างๆ รวมไปถึงได้เห็นบรรยากาศคึกคักที่แต่ละพรรคการเมืองต่างแสดงวิสัยทัศน์และจุดยืนในการพัฒนาประเทศ จึงนับเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สังคมไทยกำลังได้เรียนรู้และเติบโตเพื่อก้าวสู่สังคมประชาธิปไตยอย่างแท้จริง คิดเห็นอย่างไรกับที่เค้าบอกว่า ครูต้องเป็นกลางทางการเมือง? เกิดความสงสัยในคำว่า “ความเป็นกลาง”หลายอย่างเลยค่ะ อย่างแรก…

เลือกตั้ง 2562 : อรรถพล ประภาสโนบล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี

รู้สึกอย่างไร ตื่นเต้นไหมกับการได้ใช้สิทธิ์ครั้งแรก มันเป็นความรู้สึกคล้าย ๆ การที่เราไปตกหลุมรักใครสักคน แล้วหัวใจเราก็พองโต รู้สึกว่ามันมีความหวัง มีภาพฝันที่เราอยากจะให้เกิดขึ้น   แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นจากการที่เราตกหลุมรักนี้มันอาจจะให้ผลลัพธ์บวกหรือลบก็ได้ แต่อย่างน้อยมันทำให้เราอยากจะลุกขึ้นมาเลือกอนาคตของเรา พอ ๆ กับการลุกขึ้นมาบอกรักคนคนหนึ่ง คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้กับสังคมไทยบ้าง ทำให้ปัญหาเก่า ๆ ในสังคมที่มีรากลึกมานาน…

เลือกตั้ง 2562 :วริศรา ตั้งค้าวานิช อาจารย์คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก

คิดว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอะไรให้กับสังคมไทยบ้าง ? อย่างแรก การเลือกตั้งรอบนี้ดูจะเป็นการแข่งขันที่ล็อกตัวผู้ชนะไว้แล้วและกำจัดคู่แข่งในทุกวิถีทาง เพราะก็เห็นๆ กันอยู่ว่ากฎกติกามันไม่ยุติธรรม ฉะนั้นเราคิดว่าผลในทางการเมืองอาจจะไม่เปลี่ยนอะไรนัก ไม่หวังอะไรนักกับเรื่องนี้ ในทางสังคม บอกตามตรงว่าถ้าโครงสร้างสังคมยังเป็นอย่างนี้ การจะให้เปลี่ยนทันทีหรือภายในไม่กี่ปีก็เป็นไปได้ยาก คงต้องต่อสู้กันไปอีกนาน แต่สิ่งที่เปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัดจริงๆ คือเรื่องความคิดคน โดยเฉพาะคนที่เริ่มเห็นว่าการแก้ปัญหาโดยการรัฐประหาร ล้มกระดานทุกอย่างนั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ที่สำคัญอีกอย่างคือการได้เห็นปรากฏการณ์ของคนรุ่นใหม่ กลุ่มวัยรุ่น…

1 7 8 9 10 11 20