วันประชาธิปไตยสากล 15 กันยายน คาดหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยอย่างไรบ้าง?

อ.วรุตม์ อินทฤทธิ์: การฝึกสอนในปี 2557 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิต เมื่อนักเรียนของเราคนนึงตอนนั้นเค้าอินกับการเมืองมาก ๆ พูดขึ้นมาว่า “เราน่าจะฆ่าอีกกลุ่มนึงให้หมดเลยนะครับครู” คำพูดนี้เหมือนเปลี่ยนชีวิตในด้านการจัดการเรียนการสอนเรา ทำให้เราตระหนักว่านี่ไม่ใช่ชั้นเรียนหรือผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนในวิชาหน้าที่พลเมืองที่เราหรือแม้กระทั่งการศึกษาต้องการ

เราเริ่มศึกษาการเมืองอย่างจริงจัง รับผิดชอบวิชาการเมืองการปกครองไทยและเขียนตำราขึ้นใช้เอง เราก็พบว่าวิชาหน้าที่พลเมืองและประวัติศาสตร์ เป็นรายวิชาสำคัญมาก ๆ ที่สามารถปลูกฝังค่านิยมหรืออุดมการณ์ทางการเมืองบางอย่างให้กับนักเรียน ดังนั้นวิชาเหล่านี้ครูไม่ควรทำให้เกิดความ bias ตั้งแต่ในห้องเรียน เรามองว่า ความแตกต่าง ความหลากหลาย หรือแม้กระทั่งความขัดแย้งทางการเมืองใด ๆ เป็นเรื่องธรรมชาติของสังคม และครูก็ทำหน้าที่ในการส่งเสริมให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้วิธีการจัดการกับธรรมชาติข้อนี้ หรือจะเลือกครอบความคิดพวกเขาให้คิดตามในเรื่องที่ครูเชื่อ และแน่นอนว่าผลลัพธ์ที่ได้มันจะแตกต่างกัน

ในฐานะที่เราเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏ เราไม่เคยคิดว่าลูกศิษย์เราไม่เก่งหรือเก่งกว่าใคร เขามีส่วนที่เด่นและจุดดีของเขา ถ้าเราอยากให้สังคมประชาธิปไตยแข็งแรง เรามองว่า การลดตัวตน ลดความยึดติดกับองค์กรหรือสังกัดของตนเอง เลิกการดูถูกกันและมองคนอื่นในฐานะเพื่อนมนุษย์ให้มากขึ้น มันคงทำให้สังคมเราน่าอยู่มากขึ้นเยอะเลยครับ

บทสัมภาษณ์พิเศษ อ.วรุตม์ อินทฤทธิ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต หนึ่งในเครือข่าย Thai Civic Education เนื่องในวันประชาธิปไตยสากล (International Day of Democracy)

#thaiciviceducation #dramocraticcitizenship #democracyday