การสร้างนักเรียนให้รู้สึกว่าคนเราทุกคนต่างก็เท่าเทียมกัน ทุกเพศ ทุกชาติ ทุกศาสนา ในชีวิตจริงเราไม่สิทธิ์สามารถที่จะตัดสินเลือกปฏิบัติต่อใครคนใดคนหนึ่งเพียงเพราะเขาแตกต่างจากเรา

 

มีประสบการณ์พบเจอการเหยียดผิว/เหยียดชาติจากนักเรียน หรือสังคมในโรงเรียนบ้างไหม

ครูทิญาณี: เหยียดสีผิวไม่มีค่ะ แต่เหยียดชาติเคยเจอในห้องเรียนกับเด็กที่เป็นต่างชาติมาเรียนในบ้านเรา

ครูจะมีส่วนช่วยถ่ายทอดค่านิยมเรื่องการไม่เหยียดผิว/เหยียดชาติได้อย่างไร กระบวนการเรียนการสอนที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจประเด็นนี้มากขึ้นสามารถเป็นรูปแบบใดได้บ้าง

ครูทิญาณี: ใช้เกมสถานการณ์จำลองโดยเน้นความตระหนักในประเด็นสิทธิเสรีภาพ โดยสมมุติเหตุการณ์ทัวร์ท่องเที่ยวทั่วโลกกับเรือเจ้าสำราญโดยโดยมีตัวละครดังกล่าวล่องเรือในมหาสมุทรแปซิฟิก มีตัวละคร ได้แก่ เด็ก สตรี คนชรา คนติดเชื้อ HIV ทหาร  ครู  ตำรวจ  ชาวต่างชาติ ช่างเครื่อง คนขับเรือ บังเอิญเรือโดนพายุไปชนกับภูเขาน้ำแข็งจนเรือค่อย ๆ จมไปทีละนิด มีเรืออีกลำผ่านมา คนที่อยู่ในเรือลำนั้นก็คือนักเรียน ให้นักเรียนสามารถช่วยคนในเรือที่กำลังจะจมได้แค่ 5 คน จากนั้นชวนนักเรียนถกเถียงถึงสาเหตุของการเลือกที่จะช่วยหรือไม่ช่วยว่าเพราะเหตุใด และตั้งคำถามกับนักเรียนต่อว่า แล้วถ้าเราเป็นคนที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือ เราจะรู้สึกอย่างไร

สำหรับกิจกรรมนี้เป้าหมายคือการสร้างนักเรียนให้รู้สึกว่าคนเราทุกคนต่างก็เท่าเทียมกัน ทุกเพศ ทุกชาติ ทุกศาสนา ในชีวิตจริงเราไม่สิทธิ์สามารถที่จะตัดสินเลือกปฏิบัติต่อใครคนใดคนหนึ่งเพียงเพราะเขาแตกต่างจากเรา เพราะทุกคนมีสิทธิเเละเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน