การเหยียดเชื้อชาติหรืออะไรก็ตาม เป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกระทำกลายเป็นสิ่งที่แปลกแยก แตกต่างในแบบที่ด้อยคุณค่า พร้อมกับสร้างมาตรฐานคุณค่าของกรอบการเป็นมนุษย์ที่ดีไว้ไม่กี่แบบ

 

 

บทสัมภาษณ์ ‘ครูพล’ อรรถพล ประภาสโนบล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี เนื่องในวันสากลแห่งการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติ (21 มีนาคม) กับบทบาทของครูและวิชาสังคมศึกษาในการสร้างค่านิยมเรื่องการยุติการเหยียดผิวและเหยียดเชื้อชาติ

เข้าใจว่าการเหยีดผิว/เหยียดชาติ คืออะไร มีลักษณะแบบไหนบ้าง

ครูพล: การเหยียดเชื้อชาติหรืออะไรก็ตาม เป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกระทำกลายเป็นสิ่งที่แปลกแยก แตกต่างในแบบที่ด้อยคุณค่า พร้อมกับสร้างมาตรฐานคุณค่าของกรอบการเป็นมนุษย์ที่ดีไว้ไม่กี่แบบ

มีประสบการณ์พบเจอการเหยียดผิว/เหยียดชาติจากนักเรียน หรือสังคมในโรงเรียนบ้างไหม

ครูพล: เคยเจอตอนฝึกสอน พอนักเรียนไม่พอใจเพื่อนต่างเชื้อชาติ จะมีการด่าเพื่อนว่า ไอ้ม้งบ้าง ไอ้พม่าบ้าง และบางครั้งที่น่าแปลกบางคนมีเชื้อชาติเดียวกันยังมีการนำเอาเรื่องเชื้อชาติมาเหยียดกันเอง

สังคมศึกษาจะมีส่วนช่วยถ่ายทอดค่านิยมเรื่องการไม่เหยียดผิว/เหยียดชาติได้อย่างไร และค่านิยมนี้มีความสำคัญอย่างไรต่อสังคม

ครูพล: ข้อแรกเลยคือ สร้างให้นักเรียนท้าทายภาพตัวแทนที่ถูกสร้างขึ้นจากการเหยียด เช่น เวลาพูดถึงคนพม่า จะทำอย่างไรไม่ให้นักเรียนมองอยู่เพียงการเผากรุงศรีหรือความล้าหลัง ด้อยพัฒนาและข้อสอง พานักเรียนมองเห็นชีวิตของเพื่อนร่วมสังคมด้วยแว่นที่หลากหลายมุมและลึกซึ้งมากขึ้น ในท้ายที่สุดแล้วนักเรียนจะเป็นพลเมืองที่เข้าใจและเห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์