ทบทวนความหมายของคำว่า “พลเมือง” ด้วยสายตาใหม่ และก้าวต่อไปของกองทุนสื่อ ฯ

27 พฤษภาคม 2564 เวลา 15.00-16.30 น. มีการจัดเวทีสัมมนาวิชาการผ่านช่องทางออนไลน์ของเครือข่าย Thai Civic Education . โดยนำผลสรุปของโครงการ “การศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อออกแบบสื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการเด็กและวัยรุ่น เพื่อความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัล” มานำเสนอเพื่อเผยแพร่ผลลัพธ์ของงานการศึกษาแก่สาธารณะว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จะมีส่วนสร้างความเป็นพลเมืองในยุคดิจิทัลของวัยรุ่นได้อย่างไร ท่ามกลางวิกฤตการช่วงชิงความหมายของคำว่าพลเมืองตามค่านิยม 12…

Civic Classroom ตอนที่ 13 : เมื่อแบบเรียนไม่มีประวัติศาสตร์

ครูตระการ ทนานทอง ครูในเครือข่าย Thai Civic ล้านนา และ โรงเรียนสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ มองว่า การสร้างให้นักเรียนเป็นพลเมืองท้องถิ่นนั้น สามารถเริ่มต้นได้จากการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จากชุมชนของนักเรียนเอง ผ่านการลงไปสัมภาษณ์พูดคุย วิเคราะห์ข้อมูล แล้วสร้างความรู้เป็นของตัวเองขึ้น . เรามองว่าทั้งแบบเรียนและหลักสูตรไม่สามารถนำสิ่งที่โดดเด่นในท้องถิ่นชุมชนมาเป็นโจทย์ในการเรียนรู้ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่…

Civic Space ตอนที่ 5 ทำไมครูควรสอนเรื่อง May Day วันแรงงาน

วันแรงงานสากล วันนี้มีความหมายอย่างไร แล้วทำไมครูควรสอนเรื่องนี้ ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ของครูทั้ง 3 คนที่ได้มาแลกเปลี่ยนให้เห็นแง่มุมทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของแรงงานและคนทำงาน และการสอนควรให้นักเรียนได้มองเห็นแรงงานที่เชื่อมโยงถึงสิทธิ ความเป็นธรรม และคุณภาพชีวิต . คนทำงานหรือแรงงานเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนทั้งเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ครูควรสอนให้ผู้เรียนได้ตระหนักและเรียนรู้สิ่งนี้เป็นสามัญนึก ที่สำคัญไปกว่านั้นในวันที่ผู้เรียนก้าวเข้าไปเป็นคนทำงาน เขาจะตระหนักว่าเราทุกคนคือคนสร้างชาติ เราคือคนพัฒนาประเทศนี้ ดังนั้นเราคือผู้ทรงสิทธิที่จะเรียกร้องให้ประเทศนี้พัฒนาและต่อต้านสิ่งที่ขัดขวางความเจริญของประเทศ .…

Civic Classroom ตอนที่ 12 : ต่อยอดอาเซียนศึกษา สไตล์เฟมินิส

ครูสุทธาสิณี จากเครือข่าย Thai Civic Education ได้เล่าว่าวิชาอาเซียนศึกษา เธอได้ใช้มุมมองแบบเฟมนิส (สตรีนิยม) มาเป็นแนวคิดสำคัญในการออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนได้ตระหนักและคิดเกี่ยวสิทธิผู้หญิงในอาเซียนและโลก เราได้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยทางโรงเรียนมีเป้าหมายหลักว่า ให้การเรียนการสอนไปเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของโรงเรียน ซึ่งหนึ่งนั้นคือการเป็นสตรีในวิถีอาเซียน และสตรีในวิถีโลก เราจึงมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า เรามีมุมมองเกี่ยวกับสตรีอย่างไร ซึ่งเรามองว่า…

Civic Space ตอนที่ 4: ทำไมโรงเรียนต้องเป็นพื้นที่ปลอดภัย

บทสัมภาษณ์จากนักเรียน ครู และนักการศึกษาที่ได้สะท้อนให้เห็นว่า หากเราอยากเห็นการศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นมนุษย์ของเด็ก โรงเรียนจำเป็นต้องสร้างพื้นที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างสบายใจ และไร้ความหวาดกลัวในการใช้ชีวิตในโรงเรียน “โรงเรียนคือบ้านหลังที่สอง” คิดว่าคงเป็นคำที่หลายๆคนเคยได้ยิน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันมันเป็นเรื่องจริง นักเรียนในยุคปัจจุบันใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียนแทบจะมากกว่าอยู่ที่บ้าน ดังนั้นโรงเรียนเป็นเหมือนสถานที่ที่ให้การเติบโตและประสบการณ์แก่นักเรียน นอกจากความรู้แล้วยังรวมถึงการใช้ชีวิต โรงเรียนจึงต้องเป็นพื้นที่ที่ปลอดภัย หมายถึงทั้งในด้านของความปลอดภัยในโรงเรียน และจิตใจของผู้เรียนที่ควรถูกดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อการเป็นบ้านที่ทำให้พวกเขาเติบโตได้อย่างที่ควรจะเป็น . น.ส.พัชรดา…

Civic Classroom ตอนที่ 11 : เมื่อนอกห้องเรียนคือพื้นที่เรียนรู้

ครูทวิช ลักษณ์สง่า ครูในเครือข่าย Thai Civic Education ที่มองเห็นว่า อคติทางเชื้อชาติต่อแรงงานข้ามชาติได้ฝังรากลึกมาอย่างยาวนานในสังคมไทย เขาจึงได้พัฒนาบทเรียนที่ให้นักเรียนก้าวออกนอกห้องเรียนเพื่อไปพูดคุยกับแรงงานโดยตรง ทำให้อคติที่นักเรียนเคยมีได้จางลงในความรู้สึก เมื่อนักเรียนพูดถึงประเทศเพื่อนบ้านหรือแรงงานข้ามชาติ นักเรียนค่อนข้างจะจะมีมุมมองอคติต่อพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นคนเมียนมาร์ กัมพูชา ลาว เราจึงได้สอบถามนักเรียนไปว่า มุมมองอคติเหล่านี้ พวกเขาเขารับรู้มาอย่างไร…

กรอบการจัดการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก ( Education for Global Citizenship)

ท่ามกลางความท้าทายของโลกยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น วิกฤติผู้อพยพ การเหยียดเชื้อชาติและเพศ ความเหลื่อมล้ำที่ทวีความรุนแรงขึ้น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมไปถึงปัญหาความไม่เสมอภาคของสังคม ซึ่งประเด็นปัญหาดังกล่าวล้วนส่งผลต่อผู้คนทั้งในระดับท้องถิ่นและโลกไปพร้อมๆกัน . ดังนั้นจึงเป็นเรื่องท้าทายว่า ทิศทางการจัดการศึกษาควรเป็นไปอย่างไร ซึ่งในหนังสือ Global citizenship in the classroom –…

Civic Space ตอน 3 มายาคติเกี่ยวกับผู้หญิง ที่ควรถอดรื้อ

ตลอดประวัติศาสตร์ ผู้หญิงมีการต่อสู้เรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศเสมอ แต่ทว่าในสังคมก็ยังผลิตซ้ำวาทกรรมหรือมายาคติบางอย่างให้ความไม่เท่าเทียมดำรงอยู่ ดังนั้นทางเราจึงได้รวบรวมวามเห็นของนักศึกษา ครู และอาจารย์ ที่จะชวนไปสำรวจมายาคติเกี่ยวกับผู้หญิงที่ควรถูกถอดรื้อ #แด่วันสตรีสากล เกิดเป็นผู้หญิงต้องทำงานบ้านเป็น ทำอาหารเป็น เราว่าวาทกรรมนี้ยังคงมีอยู่ในสังคมปัจจุบันมาตลอด ผู้หญิงต้องเป็นแม่บ้านแม่เรือน ต้องรู้จักทำงานบ้าน ต้องทำอาหารเป็น ส่วนผู้ชายก็ออกไปทำงานหาเงินอะไรแบบนี้ ซึ่งสังคมมักมองว่าผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ แต่มันไม่จริงเลย เราว่าทุกคนมีความสามารถในแบบของตัวเอง ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่ถนัดเรื่องในบ้าน…

1 2 3 4 5 20