ปาฐกถา ” พลเมือง ประชาธิปไตย ความเป็นธรรมทางสังคม”

โดย ธนาภรณ์ พรหมภัทร์ – ขิม นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม _ ในเวทีเสวนา “ พลเมืองประชาธิปไตยและพลังขับเคลื่อนสังคมของเยาวชน(Democratic Citizens and Civic Engagement of the Youth) รับชมวีดีโอปาฐกถาได้ที่…

Civic Teacher ตอนที่ 9 การ์ตูนกับการสอนเรื่องพลเมือง

ทำไมต้องสอนเรื่องพลเมืองด้วยการ์ตูน การ์ตูนเรื่องอะไรบ้าง ที่ช่วยสร้างมุมมองพลเมืองประชาธิปไตย พบกับบทสัมภาษณ์ผู้ทำงานด้านพลเมือง ที่มาบอกเล่าความเห็นว่า การ์ตูนสามารถนำมาสอนเรื่องพลเมืองอย่างไรได้บ้าง . แด่วันสิทธิมนุษยชน ( Human Rights day) การ์ตูน เรื่อง เอคโค่ จิ๋วก้องโลก เรื่องราวการผจญภัยของเด็ก ๆ…

ประวัติศาสตร์แอบแฝงในยุคเทคโนโลยีเบ่งบาน: บทสนทนากับครูในเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (TCE) ตอนที่ 2

จากบทความตอนแรก ได้นำเสนอ ข้อจำกัดในมุมมองของผู้ปฏิบัติข้างตนนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ ในห้องเรียนเกิดขึ้นได้ยาก และสร้างแรงผลักให้กระบวนการเรียนรู้ต้องไปเกิดขึ้นนอกห้องเรียน นักเรียนที่สนใจก็อาจจะไปหาความรู้ด้วยตัวเองแล้วนำมาถามครู ซึ่งก็ยังคงผลิตซ้ำการหาความรู้แบบด้านเดียว และพลาดโอกาสอันมีค่าในการให้นักเรียนได้ร่วมกันมองเหตุการณ์จากหลายมุมมองและใช้หลักฐานหลายชุดมาประกอบการตัดสินใจเชื่อ ดังนั้นบทความตอนที่ 2 จะเป็นกล่าวถึงทิศทางการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ครวจะเป็น . การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ต้องปรับตัวอย่างไร ข้อสรุปที่ผมได้จากเหล่าคุณครูก็คือ หากเราต้องการเปลี่ยนให้การสอนประวัติศาสตร์เป็นพื้นที่ที่ผู้เรียนมีทักษะในการวิเคราะห์สังคมด้วยฐานคิดทางประวัติศาสตร์ ระบบการศึกษาต้องเปลี่ยนไปในสามด้านด้วยกัน…

ประวัติศาสตร์แอบแฝงในยุคเทคโนโลยีเบ่งบาน: บทสนทนากับครูในเครือข่ายการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (TCE) ตอนที่ 1

อำนาจของวิชาประวัติศาสตร์ในฐานะเครื่องมือในการบ่มเพาะอุดมการณ์รักชาติกำลังถูกบั่นทอนลง เนื้อหาที่เคยต้องผ่านคัดกรองโดยผู้มีอำนาจว่าความทรงจำร่วมแบบใดควรถูกจำ และอะไรควรถูกทำให้ลืม ตอนนี้คนกลับเข้าไปอ่านบนอินเทอร์เน็ตได้ด้วยการพิมพ์เพียงไม่กี่คำ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักเรียนทุกวันนี้สามารถพูดถึงการสังหารหมู่นักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เชื่อมโยงการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในอดีตเข้ากับบทบาทการเคลื่อนไหวของเยาวชนในปัจจุบัน ไปจนถึงตั้งคำถามถึงความสัมพันธ์ของชนชั้นนำกับเหตุการณ์สังหารนักศึกษาและประชาชนที่ไม่ถูกกล่าวถึงอยู่ในหนังสือเรียน . เรากล่าวได้ว่าการเรียนการสอนประวัติศาสตร์แบบเดิมที่มีครูเป็นศูนย์กลางการให้ความรู้ไม่ตอบโจทย์ความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียนอีกต่อไปภายใต้บริบทการสื่อสารที่เปลี่ยนไปนี้ จนนำมาสู่คำถามว่า ภาคการศึกษามีความพยายามในการปรับตัวอย่างไร มีข้อจำกัดอะไร การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ควรต้องปรับตัวอย่างไรในยุคที่นักเรียนสามารถหาข้อมูลได้ด้วยตัวเอง และเป็นไปได้ไหมว่าเราไม่จำเป็นต้องง้อรัฐให้เอาเรื่อง 6 ตุลาฯ…

Civic Teacher ตอนที่ 8 : ทำไมโรงเรียนไทยต้องสอนเรื่องการสังหารหมู่ 6 ตุลา 2519

เหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลาคม 2519 สะท้อนอะไรได้บ้าง ? ทำไมโรงเรียนไทยต้องสอนเรื่องดังกล่าว ? แล้วครูจะสอนเรื่องนี้อย่างไรดี ? . อ่านบทสัมภาษณ์ Civic Teacher ตอนที่ 8 : ทำไมโรงเรียนไทยต้องสอนเรื่องการสังหารหมู่…

Civic Classroom ตอนที่ 8 : ร่องรอย, ความรู้สึกและความรุนแรง เมื่อ 6ตุลา คือการสอนประวัติศาสตร์ที่รัฐปกปิด

ครูชัยภัทร แก้วจรัส โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มองว่า เหตุการณ์สังหารหมู่ 6 ตุลาคม 2519 เป็นประวัติศาสตร์ที่ถูกปกปิดจากผู้มีอำนาจมาโดยตลอด แต่ห้องเรียนของเขา กลับนำข้อมูลและหลักฐาน จากอีกแง่มุมหนึ่ง(คนละชุดกับรัฐ) มาให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยน สำรวจความรู้สึกที่มีต่อเหตุการณ์ และวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่เกิดขึ้น เรื่องการสังหารหมู่ที่ธรรมศาสตร์ ในวันที่ 6…

Civic Classroom ตอนที่ 7 : เมื่อสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องไกลตัว

บทสัมภาษณ์ครูศศิกานต์ ชาติสุวรรณ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม ครูสอนวิชาสังคมศึกษาที่ทำให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องใกล้ตัวของนักเรียน โดยอาศัยกระบวนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ และสร้างพื้นที่ปลอดภัย ครูศศิกานต์ มองว่า วิชาหน้าที่พลเมืองที่ผ่านมา เน้นให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่เชื่อฟังคำสั่งของรัฐ แต่แท้จริงควรเป็นวิชาที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในชีวิตพวกเขา ดังนั้นประเด็นการกลั่นแกล้งในโรงเรียน จึงเป็นประเด็นสำคัญที่เธอนำมามาสอนนักเรียนชั้น ม.2 ที่เชื่อมโยงกับหลักสิทธิมนุษยชน . คำว่า…

Civic Teacher 7 : เสียงของคนรุ่นใหม่ควรถูกรับฟัง

ทำไมเสียงของคนรุ่นใหม่ควรถูกรับฟัง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนรุ่นใหม่สะท้อนอะไรได้บ้าง แล้วโรงเรียนควรมีบทบาทอย่างไรต่อเรื่องนี้ . บทสัมภาษณ์ครูในเครือข่าย Thai Civic Education ต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนรุ่นใหม่เพื่อสร้างสังคมประชาธิปไตย การแสดงออกทางการเมือง เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนพึงมี เมื่อก่อนมักมีคำกล่าวว่าเด็ก ๆ ไม่สนใจเหตุบ้านการเมือง แต่ในสมัยนี้เมื่อเด็ก ๆ หันมันสนใจกับบ้านเมือง แสดงความคิดเห็นกับเรื่องราวต่าง…

Civic Classroom ตอนที่ 6 : สร้างครูเริ่มต้นที่ประเด็นทางสังคม

ซัมซู สาอุ อาจารย์สาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษาอิสลาม คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ขับเคลื่อนเครือข่าย Thai Civic Education ที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เขามองว่า การสร้างครูต้องไม่ใช่แค่สอนได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่ครูต้องเข้าใจเรื่องสิทธิความเป็นพลเมือง มองเห็นความไม่ยุติธรรมทางสังคม และเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการผลักดัน เนื่องจากนักศึกษาที่สอนเป็นนักศึกษาศึกษาศาสตร์ และที่ทราบกันดีว่าความเป็นครูที่ผ่านมา…

Civic Teacher 6 : สอนอาเซียนอย่างไรดี ?

บทสัมภาษณ์ผู้ทำงานด้านพลเมือง ที่มาบอกเล่ามุมมองการสอนเซียนที่ไปถึงความเป็นพลเมืองโลก ให้ความสำคัญกับหลักสิทธิมนุษยชน และเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม การสอน “อาเซียนศึกษา” คงต้องย้ำตัวเองอยู่เสมอว่า เราสอนนักเรียนใน “ฐานะมนุษย์” ที่อยู่ใน “สังคมอาเซียน” เรียนรู้อย่างเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ ภายใต้มุมมอง อัตลักษณ์หรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของผู้คนในพื้นที่ต่างๆของอาเซียน สิ่งนั้นจะทำให้นักเรียนรู้จักส่งเสริมซึ่งกันและกัน รวมถึงอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม __…

1 3 4 5 6 7 20