ครูทวิช ลักษณ์สง่า ครูในเครือข่าย Thai Civic Education ที่มองเห็นว่า อคติทางเชื้อชาติต่อแรงงานข้ามชาติได้ฝังรากลึกมาอย่างยาวนานในสังคมไทย เขาจึงได้พัฒนาบทเรียนที่ให้นักเรียนก้าวออกนอกห้องเรียนเพื่อไปพูดคุยกับแรงงานโดยตรง ทำให้อคติที่นักเรียนเคยมีได้จางลงในความรู้สึก

เมื่อนักเรียนพูดถึงประเทศเพื่อนบ้านหรือแรงงานข้ามชาติ นักเรียนค่อนข้างจะจะมีมุมมองอคติต่อพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นคนเมียนมาร์ กัมพูชา ลาว เราจึงได้สอบถามนักเรียนไปว่า มุมมองอคติเหล่านี้ พวกเขาเขารับรู้มาอย่างไร ซึ่งนักเรียนก็จะเล่าบอกว่าได้มาจากแบบเรียนผู้ปกครอง หรือคนในชุมชน รวมถึงสื่อต่างๆ เช่น โฆษณา ละคร ทำให้ตัวเขาเองมองว่าคนกลุ่มนี้น่ากลัว มีลักษณะมองไปในเชิงลบมากกว่าเชิงบวก

ด้วยเหตุผลนี้ เราเลยสนใจว่า จะมีวิธีการอย่างไรที่จะออกแบบบทเรียนเพื่อให้นักเรียนได้ตั้งคำถามอคติทางเชื้อชาติ เราจึงมองเห็นว่ารอบๆโรงเรียนมีแรงงามข้ามชาติเข้ามาทำงานจำนวนมาก ซึ่งนำมาสู่กระบวนการนอกห้องเรียน ที่ให้นักเรียนได้ออกไปสำรวจชีวิตของแรงงานมากขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้ลองตั้งคำถามและรับรู้ว่า แรงงานเขามีที่มาอย่างไร ทำไมถึงมาเป็นแรงงาน แล้วได้ค่าแรงเท่าไหร่ต่อวัน ตัวเขามีมุมมองต่อคนไทยอย่างไร ขณะเดียวกันคนไทยมีมุมองต่อเขาอย่างไรบ้าง

เมื่อจบกระบวนการ เด็กก็ได้ข้อค้นพบใหม่ๆว่า แรงงานข้ามชาติ จากที่เขาเคยมองแบบมีอคติก็เป็นบวกมากขึ้น จากที่เคยมองเขาเป็นอื่น ก็มองว่าเขาเป็นคนเหมือนกับเรา หรือจากที่มองเหมารวม ว่าเป็นคนสกปกรก ยากจน น่ากลัว อันตราย นักเรียนก็มองแบบใหม่ว่าจริงๆแล้วเขาเป็นแค่คนธรรมดาที่มาทำงานที่บ้านเรา ซึ่งเป็นผลจากการที่เด็กได้สัมผัสจากการสำรวจพูดคุย
.
นอกจากนี้ นักเรียนยังได้พฤติกรรมไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมาตอนขึ้นรถประจำทาง เขาก็จะมองแรงงานข้ามชาติด้วยสาตายรังเกียจ ไม่อยากอยู่ใกล้ รู้สึกอันตราย แต่พอผ่านการเรียนไป มุมมองเขาก็เปลี่ยนไป เขามีคำถามว่าทำไมทุกคนบนรถต้องรู้สึกเช่นนั้น ทั้งๆที่เขาก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน ที่สำคัญนักเรียนเริ่มเปลี่ยนสังคมเล็กๆของเขา เช่น ครอบครัว เพื่อน โดยการไปเล่าบอกว่าแรงาต่างชาติไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เราเลยรู้สึกว่าบทเรียนนี้ประทับใจมาก


ภาพโดย Chaipat Kaewjaras
#thaiciviceducation