บทสัมภาษณ์ครูศศิกานต์ ชาติสุวรรณ โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม ครูสอนวิชาสังคมศึกษาที่ทำให้เรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องใกล้ตัวของนักเรียน โดยอาศัยกระบวนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนพูดคุย แบ่งปันประสบการณ์ และสร้างพื้นที่ปลอดภัย

ครูศศิกานต์ มองว่า วิชาหน้าที่พลเมืองที่ผ่านมา เน้นให้นักเรียนเป็นพลเมืองที่เชื่อฟังคำสั่งของรัฐ แต่แท้จริงควรเป็นวิชาที่ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้ปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้นในชีวิตพวกเขา ดังนั้นประเด็นการกลั่นแกล้งในโรงเรียน จึงเป็นประเด็นสำคัญที่เธอนำมามาสอนนักเรียนชั้น ม.2 ที่เชื่อมโยงกับหลักสิทธิมนุษยชน
.
คำว่า “สิทธิมนุษยชน” เราเริ่มต้นอธิบายความหมายให้นักเรียนเข้าใจเบื้องต้นว่าสิทธิมนุษยชนคืออะไร ทำไมถึงต้องมีหลักสิทธิมนุษยชนขึ้นมาในสังคมโลก จากนั้นเราให้เขาเชื่อมโยงว่าเหตุการณ์ที่เขาเคยพบเจอในชีวิตนั้นเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างไร แล้วเหตุการณ์ดังกล่าวมันสะท้อนเกี่ยวกับละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อย่างไร ซึ่งนักเรียนมีการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสีผิว ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ * การเป็นเพศที่สาม จนเกิดการกลั่นแกล้งหรือถูกล้อจากคนรอบข้าง รวมถึงคุณภาพการศึกษาที่ไม่เท่าเทียม และสิทธิคนพิการที่เขามองเห็นจากป้ายรถเมล์ จากการพูดคุยดังกล่าว ทำให้นักเรียนคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมสังคมถึงเกิดการเลือกปฏิบัติ ทั้งที่เรามีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน

จากนั้นให้นักเรียนที่สนใจในประเด็นเดียวกันได้จับกลุ่มแลกเปลี่ยนกัน โดยมีคำถามว่าปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่นักเรียนสนใจเป็นอย่างไร เพราะเหตุใดถึงเกิดขึ้น แล้วคนในสังคมมองปัญหานี้อย่างไรบ้าง หลังจากนั้นให้นักเรียนได้นำเสนอ และเปิดพื้นที่แสดงความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ร่วมที่พวกเขาเคยพบเจอ เช่น นักเรียนหนึ่งคนหนึ่งเป็นทอม เขาได้บอกเล่าถึงการไม่ถูกยอมรับจากครอบครัว เป็นต้น

นักเรียนเริ่มมองเห็นว่า การแบ่งแยกของความเป็น “เขา” เป็น “เรา” เกิดขึ้นจากการมองว่าเราไม่ได้มองมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน จนนำมาสู่ความเกลียดชังกันเกิดขึ้น และเริ่มคิดว่าการกระทำของตน ที่แม้บางครั้งตนเองมองว่าเป็นเพียงการหยอกล้อ แต่อาจไปจี้ปมด้อยของคนอื่น ที่สำคัญเริ่มเข้าใจว่าสิ่งที่เขาเคยทำมันไม่ใช่เรื่องปกติ
.
ปลายทางสุดท้าย เราอยากเห็นเขากล้าตั้งคำถาม กล้าแสดงความคิดเห็น กล้ารับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง และ มีความคิดเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งนั้นจะช่วยให้เขาเติบโตเป็นพลเมืองที่อยู่บนหลักประชาธิปไตย


ออกแบบภาพโดย Chaipat Kaewjaras #thaiciviceducation #civicclassroomTCE