ทำไมต้องสอนเรื่องพลเมืองด้วยการ์ตูน
การ์ตูนเรื่องอะไรบ้าง ที่ช่วยสร้างมุมมองพลเมืองประชาธิปไตย
พบกับบทสัมภาษณ์ผู้ทำงานด้านพลเมือง
ที่มาบอกเล่าความเห็นว่า การ์ตูนสามารถนำมาสอนเรื่องพลเมืองอย่างไรได้บ้าง
.
แด่วันสิทธิมนุษยชน ( Human Rights day)

การ์ตูน เรื่อง เอคโค่ จิ๋วก้องโลก เรื่องราวการผจญภัยของเด็ก ๆ ที่เหมือนมีสองโลกคู่ขนาน ระหว่าง โลกแห่งความสงบสุข และโลกแห่งการกอบโกยความสุข แต่ภาวะโลกร้อนไม่สามารถเลือกผลกระทบเฉพาะกลุ่มได้ หน้าที่ของการปกป้องทรัพยากรธรรม จะต้องทำโดยการไม่รุกรานธรรมชาติ ปิด ปิด และปิด
.
การ์ตูนเรื่อง เอคโค่ จิ๋วก้องโลก เหมาะกับการสอนนักเรียนเพื่อทำความเข้าใจวิถีคนกับธรรมชาติ การเคารพคน การเคารพธรรมชาติ การหาแนวทางการป้องกันภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน และการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมในฐานะพลเมือง
.
ชัชวาล สะบูดิง
ครูโรงเรียนราชประชานุเคราะห์

Spirited Away (千と千尋の神隠し) ชื่อภาษาไทยว่าเส้นทางแห่งจิตวิญญาณ จิฮิโระ เด็กหญิงชั้นประถมที่ได้นำออกไปสู้โลกเหนือความจริงของเหล้าเทพที่สะท้อนสังคมอย่างแยบยล จนบางครั้งถ้าเราดูด้วยความสุนทรีย์เราจะพบว่าตลอดการเดินเรื่องเต็มไปด้วยความน่าตื่นเต้นและน่าระทึกอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดให้ผู้ชมจดจ่อและเฝ้ารอที่จะได้ชมอีก จนทำให้หลายคนอาจมีคำถามว่าเอามาสอนสาระหน้าที่พลเมืองได้อย่างไร
.
แต่ถ้าลองดูครั้งที่ 2 แล้วนึกถึงฉากที่จำได้ แต่ละฉากนั้นสะท้อนสังคมอย่างมาก ตั้งแต่ฉากแรกพ่อแม่ของ จิฮิโระ กลายเป็นหมู หลังจากกินอาหารในสวนสนุกเข้าไปจำนวนมาก และเป็นสาเหตุที่ทำให้ จิฮิโระ เข้าไปทำงาน ถ้าเรามองลึก ๆ เราจะเห็นภาพของผู้ใหญ่ที่บริโภคจนเกินความจำเป็นจนทำให้เด็กต้องมารับภาระในการช่วยเหลือ อีกทั้ง การเดินเรื่องสะท้อนภาพของการเลือกปฏิบัติของผู้คนแม้แต่เทพเจ้า การให้สินบนเพื่อเป็นใบเบิกทาง ภาพการถูกใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งเมื่อดูจบสามารถนำเหตุการณ์ในฉากเหล่านั้นมาร่วมการถอดบนเรียนในมุมมองต่าง ๆ กับความเป็นพลเมืองและสามรถสะท้อนไปถึงภาพของพลเมืองในจินตนาการของนักเรียนได้เลย และน่าจะเป็นเครื่องมือที่สามารถสะท้อนมุมมองของพลเมืองประชาธิปไตยได้อย่างสนุกสนานอีกเครื่องมือหนึ่ง

.
ธีรพงษ์ ภักดีสาร
ครูโรงเรียนอนุบาลด่านซ้าย จ.เลย

เรื่อง attack on titans เป็นเรื่องโลกในจินตนาการที่มนุษยชาติต้องเข้ามาอยู่ภายในกำแพงเพื่อป้องกันตัวเองจากไททันกินคน ในเรื่องภาพของไททันคือตัวแทนของภัยอันตรายที่ไม่สามารถเข้าใจได้ ไร้เหตุผล ไม่สามารถสื่อสารเจรจา เป้าหมายของมนุษย์คือการรอดชีวิตและจัดการกับไททัน (และเพื่อ “เสรีภาพ” สำหรับตัวละครบางตัว) คำถามที่น่าจะชวนนักเรียนคุยได้ก็คือ 1) เรื่องระบอบการเมือง ระบบการจัดการปกครองแบบกษัตริย์หรือการปกครองโดยเหล่าขุนนาง (aristocracy) 2) ความเป็นธรรมในการจัดสรรทรัพยากร โดยเฉพาะฉากที่ต้องให้คนไปตายเพราะอาหารไม่พอ แต่พวกขุนนางยังมีอันจะกิน 3) ความเป็นมนุษย์ภายใต้สภาวะสงคราม ว่า ในสภาวะแบบนี้ คำว่า “เสรีภาพ” “สิทธิ” ถูกตีความอย่างไร 4) ประเด็นเชิงศีลธรรม เช่น การโกหกทหารเพื่อให้กล้าไปรบ หรือการเลือกช่วยชีวิตคนที่จะมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติมากที่สุด
.
นอกจากนี้ในภาคที่ 3 เรื่องยังเผยว่าคนกลุ่มที่อยู่ในกำแพงโดนล้างสมองโดยปฐมกษัตรย์ผู้สร้างกำแพง และพวกเขาคือคนที่เชื้อสายหนึ่งที่ถูกกดขี่ ละเมิดสิทธิ์ สร้างเรื่องว่าพวกเขาเป็นชนชาติที่มีบาปตั้งแต่กำเนิด นำมาสู่คำถามเรื่อง ผลลัพธ์ของการประวัติศาสตร์ ความเท่าเทียมของมนุษย์ และกระบวนการในการลดทอนความเป็นคนผ่านประวัติศาสตร์ (เปรียบเทียบได้กับกระบวนการ propaganda ที่นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในหลายกรณี)
.
ภี อาภรณ์เอี่ยม
ผู้ขับเคลื่อนงานการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง


ออกแบบภาพโดย Chaipat Kaewjaras
#thaiciviceducation
#civicclassroomTCE