May
11
Mon
2020
EDU Webinar Series ปรับ-เรียน-เปลี่ยน-รู้
EDU Webinar Series ปรับ-เรียน-เปลี่ยน-รู้
May 11 – Jun 26 all-day

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด 19 ส่งผลกระทบการการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โรงเรียนต้องเลื่อนเปิดเทอม ครู อาจารย์ และนักเรียน ต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่เพื่อให้สอดรับกับ social distancing หลายคนเริ่มเตรียมความพร้อมเพื่อออกแบบการเรียนรู้ผ่านช่องทางเทคโนโลยีดิจิทัล แต่อีกหลายคนยังคงสับสนเพราะยังต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายและข้อจำกัดต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่
.

EDU Webinar ปรับ-เรียน-เปลี่ยน-รู้ จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นเวทีกลางเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมกันหาทางออกของการจัดการศึกษาในภาวะปกติใหม่ (New Normal) โดยเปิดเวทีแลกเปลี่ยน 4 ครั้ง ดังนี้
.
“ปรับเรียนเปลี่ยนรู้” ครั้งที่ 1 “ผลกระทบวิกฤตโควิด-19: โรงเรียนควรจะเดินหน้าต่ออย่างไร?” วันที่ 11 พฤษภาคม 2563 เวลา 13.30-15.30 น.
.
“ปรับเรียนเปลี่ยนรู้” ครั้งที่ 2 “สถานการณ์โควิด 19 และการเรียนที่บ้าน : สิ่งที่พ่อแม่และครูต้องเผชิญกับการเรียนทางไกล” วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 เวลา 13.30-15.30 น.
.
“ปรับเรียนเปลี่ยนรู้” ครั้งที่ 3 “บทบาทชุมชนกับการสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในภาวะวิกฤต”วันที่ 12 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30-15.30 น.
.
“ปรับเรียนเปลี่ยนรู้” ครั้งที่ 4 “เสียงของเด็กและเยาวชนในช่วงโควิด 19 : ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางสำหรับอนาคต” วันที่ 26 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30-15.30 น.

ติดตามการเคลื่อนไหวและลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้ที่ Page: Thai Civic Education
.

จัดโดย:
– มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย (Thai Civic Education Foundation)
– มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (Friedrich-Ebert-Stiftung)
– ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ESD) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ครูขอสอน (Krukorsorn)
– กลุ่มCritizen
– ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน (CYD)
– ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (The Centre of Multiculturalism and Education Policy, Chiang Mai University)
– สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (Child and Youth Media Institute)

Jul
11
Sat
2020
ปรับเรียนเปลี่ยนรู้ ครั้งที่ 4 “หวัง ฝันเอาไว้แล้วจะไปยังไงต่อ: เสียงสะท้อนของเยาวชนต่ออนาคตหลังโควิด 19”
ปรับเรียนเปลี่ยนรู้ ครั้งที่ 4 “หวัง ฝันเอาไว้แล้วจะไปยังไงต่อ: เสียงสะท้อนของเยาวชนต่ออนาคตหลังโควิด 19”
Jul 11 @ 13:30 – 15:30

เมื่อภาวะวิกฤตส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในวงกว้าง เด็กและเยาวชนก็เป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การศึกษา การใช้ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม ครอบครัว ฯลฯ ในการเสวนาครั้งที่ผ่าน ๆ มาของกิจกรรม “EDU Webinar ปรับเรียนเปลี่ยนรู้” ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล ความรู้และความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ ส่วนในครั้งที่ 4 จะเป็นเวทีที่เยาวชนจะได้ส่งเสียงสะท้อนประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยตัวเอง

หวัง ฝันเอาไว้แล้วจะไปยังไงต่อ: เสียงสะท้อนของเยาวชนต่ออนาคตหลังโควิด 19” คือ หัวข้อในการพูดคุยกันใน Webinar “ปรับเรียนเปลี่ยนรู้” ครั้งที่ 4
ผ่านโปรแกรม Zoom Webinar ID 859 2082 9435  และไลฟ์ผ่านเฟซบุ๊กเพจ
“Thai Civic Education”

ตัวแทนเยาวชนที่เข้าร่วมการเสวนาในครั้งนี้มาจากภูมิหลังที่หลากหลาย ทั้งจากในระบบและนอกระบบ ในการศึกษาระดับมัธยมแบะอุดมศึกษา จากพื้นที่เมืองและชนบท แต่ทุกคนมีมุมมองด้านสังคมที่มองผ่านการคิดวิเคราะห์และพร้อมจะมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนเยาวขนที่มีความหลากหลาย โดยพวกเขาจะมาสะท้อนผลกระทบของวิกฤตโควิด-19 ที่มีต่อชีวิตของพวกเขา รวมถึงความฝันและความหวังที่อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงแผนการณ์ไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันกับผู้ฟังแบบเรียลไทม์ เพื่อให้เกิดมุมมองการแก้ปัญหาและวางแผนอนาคตต่อไป

Aug
18
Tue
2020
#saveพื้นที่การเรียนรู้ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคต
Aug 18 @ 13:00 – 15:30

https://www.facebook.com/watch/?v=1230504100615920&extid=gPZG4MNf0JbLWqS9

 

Sep
3
Thu
2020
โครงการเยาวชนพลเมือง ประจำปีการศึกษา 2563 กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชนพลเมือง @  ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการเยาวชนพลเมือง ประจำปีการศึกษา 2563 กิจกรรมที่ 2 การอบรมเชิงปฏิบัติการเยาวชนพลเมือง @ ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Sep 3 – Sep 6 all-day
Oct
3
Sat
2020
Critizen รับสมัครคุณครูในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Critizen รับสมัครคุณครูในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Oct 3 @ 08:30 – Oct 4 @ 16:00

Critizen รับสมัครคุณครูในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมเพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ
ในวันที่ 3-4 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรม Nouvo Hotel (ค้างคืน)

นำกระบวนการโดยครูและนักการศึกษาในเครือข่าย Critizen
workshop + ที่พักฟรี!!!

ลงทะเบียนที่ https://forms.gle/oHNvfYWsN25yzmHR8

ค่ามัดจำการสมัคร 500 บาท (คืนให้หลังกิจกรรมเสร็จสิ้น)
สมัครและโอนเงินก่อนมีสิทธิ์ก่อน

รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 26 กันยายน 2563
ปิดรับสมัครภายในเวลา 18.00 น. และประกาศรายชื่อหน้าเพจ Critizen)
รับสมัครจำนวน 20 คน

เมื่อสมัครเต็มจำนวนจะปิดฟอร์มรับสมัครทันที หากท่านโอนเงินมาแต่ไม่ได้รับสิทธิ ให้ท่านเก็บหลักฐานไว้ ทางทีมงานจะติดต่อกลับทันทีค่ะ)

สอบถามเพิ่มเติม 085-8906160 (ครูแน็ต), 081-3017073 (ครูโจ้)
* ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะได้หนังสือคู่มือกิจกรรมรู้เท่าทันสื่อ ม.ปลาย ฟรี !!

Oct
10
Sat
2020
อบรม “อำนาจ เพศ ความไม่เป็นธรรมและแนวทางที่สร้างการเปลี่ยนแปลง”
อบรม “อำนาจ เพศ ความไม่เป็นธรรมและแนวทางที่สร้างการเปลี่ยนแปลง”
Oct 10 – Oct 12 all-day

มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ภายใต้การสนับสนุนของสสส. ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย Thai Civic Education จัดการอบรม “อำนาจ เพศ ความไม่เป็นธรรมและแนวทางที่สร้างการเปลี่ยนแปลง” ภายใต้โครงการสื่อเพื่อสร้างวัฒนธรรมสันติภาพ ระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2563 มีนักการศึกษาและเครือข่ายมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) และมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา (มยพ.) เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจรากฐานของปัญหาการกลั่นแกล้งและอคติในสังคม เพื่อพัฒนาต่อยอดในงานสำหรับการเปลี่ยนแปลงให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมต่อไป
#สสย #สสส #ThaiCivicEducation #สื่อเพื่อสร้างวัฒนธรรมสันติภาพ

Nov
14
Sat
2020
"พลเมืองประชาธิปไตยและพลังขับเคลื่อนสังคมของเยาวชน(Democratic Citizens and Civic Engagement of the Youth)"
“พลเมืองประชาธิปไตยและพลังขับเคลื่อนสังคมของเยาวชน(Democratic Citizens and Civic Engagement of the Youth)”
Nov 14 all-day

ขอเชิญผู้สนใจทุกท่าน มาร่วมแลกเปลี่ยน รับฟัง และเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องพลเมือง ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของเยาวชน และพลังของสื่อดิจิตัล ในห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ในงาน “พลเมืองประชาธิปไตยและพลังขับเคลื่อนสังคมของเยาวชน(Democratic Citizens and Civic Engagement of the Youth)”
.
วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2563
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ตั้งแต่เวลา 09.00 เป็นต้นไป
.
ลงทะเบียนได้ที่ : https://bit.ly/34SbU7N
__
กำหนดการ
09:00-09:30 ลงทะเบียน

09:30-09:40 กล่าวต้อนรับ โดย ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

09:40-10:00 Keynote โดย ธนาภรณ์ พรหมภัทร์ – ขิม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเด็น: พลเมือง ประชาธิปไตย ความเป็นธรรมทางสังคม
.
10:00-12:00 Session 1: พลเมือง ประชาธิปไตย ความเป็นธรรมทางสังคม นำเสนรายงาน “การสร้างความเป็นพลเมืองในประเทศไทย”
โดย อรรถพล ประภาสโนบล

ร่วมแลกเปลี่ยนโดย
ผศ.ดร.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ครูทวิช ลักษณ์สง่า ครูในเครือข่าย Thai Civic Edcation
ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ นักสิตคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ธญานี เจริญกูล กลุ่มนักเรียนเลว
ผู้ดำเนินรายการ: ผศ.ดร.ชนินทร เพ็ญสูตร
.
12:00-13:00 รับประทานอาหารกลางวัน
.
13:00-15:00 Session 2: นิเวศ (Ecology) การเรียนรู้ความเป็นพลเมือง

ดร. วัชรฤทัย บุญธินันท์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ผศ.ดร.ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ฮัมดาน อ่อนหวาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2
วิรดา แซ่ลิ่ม เพื่อนที่ไม่รู้จัก (แต่ล้วนรักประชาธิปไตย) ในทวิตเตอร์
ทิพากร ไชยประสิทธิ์ Decode
สหัสวรรษ ทาติ๊บ ชมรมการแสดงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สมาชิกผู้แทนราษฏร พรรคก้าวไกล

ผู้ดำเนินรายการ: โตมร อภิวันทนากร
.
15:00-15:15 พักรับประทานอาหารว่าง
.
15:00-17:00 Session 3: พลังขับเคลื่อนสังคมของเยาวชนในยุค Digital

ปานตา ธัญภัทรกุล แฮมทาโร่-วัฒนธรรมป๊อบ
ถิรธรรม เกษมเรืองกิจ กลุ่มเยาวชนพลเมืองเพื่อสังคมประชาธิปไตย-YCDS เชียงใหม่
เฟย กีรตรีพร คณะผู้หญิงปลดแอก (Women for Freedom and Democracy)
พรนรินทร์ ชิตมินทร์ โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม เชียงใหม่
วริษา สุขกำเนิด กลุ่มมาร์กซิสต์ศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เอมรินทร์ อุ่นใจชน Unmuted project ม็อบที่ใช้ศิลปะเป็นตัวขับเคลื่อน

ผู้ดำเนินรายการ: ชัชฎา กำลังแพทย์, ธนวรรธน์ สุวรรณปาล
.
17:00-17:15 สรุป โดย ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ

May
4
Tue
2021
TCE Symposium 2021 ในหัวข้อ “พลเมืองศึกษาเพื่อสร้างเมืองของทุกคน”
TCE Symposium 2021 ในหัวข้อ “พลเมืองศึกษาเพื่อสร้างเมืองของทุกคน”
May 4 – Jun 22 all-day

การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสร้างพลังของพลเมืองประชาธิปไตย ในภาวะประชาธิปไตยถดถอย ยิ่งเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่ครู นักการศึกษา และผู้ที่ขับเคลื่อนสังคม ร่วมสร้างการเรียนรู้ให้แก่พลเมืองเพื่อร่วมกันสร้างสังคมสำหรับทุกคน (inclusive society) ที่พลเมืองยึดโยงอยู่ กับหลักการวิถีปฏิบัติ วัฒนธรรมตามแนวทางประชาธิปไตย ใช้ความรู้เรื่องการเมืองและประชาธิปไตยในการถกเถียง ทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหา และลงมือปฏิบัติในฐานะพลเมือง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองเป็นแนวทาง การปฏิบัติอย่างหนึ่งที่พลเมืองสามารถใช้อำนาจของตัวเองเพื่อสร้างพื้นที่เมืองสำหรับทุกคน
.
ซึ่งตลอดระยะเวลาหลายปี เครือข่าย Thai Civic Education ร่วมกับ สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ด้านการศึกษาสร้างพลเมือง โดยในปีที่ผ่านมานี้ได้มีหัวข้อสำคัญของการขับเคลื่อนงานในเครือข่าย คือเรื่องการสร้างสังคมสำหรับทุกคนและเมืองของทุกคน (inclusive society and Inclusive Cities) ซึ่งเป็นสาระของการทำงานของภาคส่วนต่างๆในเครือข่าย จบจนมาถึงช่วงท้ายของปี การดำเนินงานของเครือข่าย Thai Civic Education ทั้งครู อาจารย์ นักการศึกษา ภาคประชาสังคม ได้สร้างบทเรียนและข้อค้นพบ ประสบการณ์ของการจัดการศึกษาสร้างเมืองของทุกคน ทั้งในมิติของห้องเรียน พื้นที่สถานศึกษา พื้นที่ชุมชน และพื้นที่เมือง อันเป็นฐานความรู้ที่เกิดขึ้นจาการปฎิบัติการของเหล่าสมาชิกในเครือข่าย
.
TCE Symposium การสัมมนาประจำปีของเครือข่าย Thai Civic Education ที่จะจัดขึ้นในปีนี้ จึงเป็นนการเปิดพื้นที่และโอกาสที่ครู อาจารย์ นักเรียน และองค์กรภาคประชาสังคมได้นำเสนอกระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้ และชุดประสบการณ์เกี่ยวกับประเด็นการสร้างสังคมสำหรับทุกคนและการสร้างเมืองของทุกคน ในหัวข้อ “พลเมืองศึกษาเพื่อสร้างเมืองของทุกคน” ซึ่งการจัดการสัมมนาในปีนี้มีดำเนินงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์ Covid-19 จึงดำเนินการผ่านแฟตฟอร์มออนไลน์ เป็นจำนวน 5 ครั้ง ประกอบด้วย เสวนาสาธารณะ 4 ครั้งได้แก่หัวข้อ 1) พลเมืองศึกษาเพื่อสร้างเมืองของทุกคน 2) การเรียนรู้และการมีส่วนร่วมสร้าง Inclusive Society and City 3) พลเมืองศึกษาบนฐานชุมชน : โอกาส ความเป็นไปได้ของการจัดการเรียนรู้พลเมืองผ่านต้นทุนชุมชนของ ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ 4) ทิศทางการศึกษาสร้างพลเมืองในยุค digital บริบทการเมืองไทย และ New normal และมีการสัมมนาเชิงปฎิบัติการเครือข่าย TCE 1 ครั้ง ในหัวข้อ 5) ระดมความคิดวิเคราะห์ทิศทางการศึกษาสร้างพลเมืองไทย
.
เวทีสัมมนาประจำปี TCE Symposium ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญในกระบวนการสร้างความรู้ ด้านการสร้างพลเมืองประเทศไทย ซึ่งมีแนวคิดเบื้องหลังที่สำคัญของการศึกษาสร้างพลเมือง ที่มุ่งเน้น ความเป็นธรรม กำกับ และผนวกการสร้างสรรค์ทิศทางของขับเคลื่อนงานไปสู่การสร้างสังคมสำหรับทุกคนสร้างเมืองของทุกคน จากมิติและบริบทการศึกษาเป็นพื้นฐานและเกี่ยวร้อยทุนทางชุมชนและสังคมไปด้วยกัน เพื่อให้เป็นพื้นที่ เชิงวิชาการความรู้ ของสังคมไทยในการสร้างการเปลี่ยนแปลงฐานความคิดของสังคมไทย อันนำไปสู่นโยบาย การบริหารเมือง สภาพแวดล้อมวิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นอยู่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของทุกคนต่อไป
.
การสัมมนาประจำปี TCE Symposium 2021 ในหัวข้อ “พลเมืองศึกษาเพื่อสร้างเมืองของทุกคน” จัดขึ้นเพื่อนำเสนอแลกเปลี่ยนเชิงวิชการ โดยหมู่หรือคณะผู้เชี่ยวชาญในเครือข่ายนักวิชาการ นักการศึกษา ครู อาจารย์ นักเรียน และภาคประชาสังคม สลับสับเปลี่ยนหัวข้อเฉพาะของตน ซึ่งในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์ Covid-19 การสัมมนาจึงดำเนินการผ่านแฟตฟอร์มออนไลน์ เป็นจำนวน 4 ครั้ง ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อย ได้แก่

1.พลเมืองศึกษาเพื่อสร้างเมืองของทุกคน
2.สร้างการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมสร้าง Inclusive Society and City
3.พลเมืองศึกษาบนฐานชุมชน : โอกาส ความเป็นไปได้ของการจัดการเรียนรู้พลเมืองผ่านต้นทุนชุมชนของ ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
4.ทิศทางการศึกษาสร้างพลเมืองในยุค digital บริบทการเมืองไทย และ New normal

มีรายละเอียดของแต่ละครั้งดังนี้

Webinar ครั้งที่ 1 “การศึกษากับการสร้างเมืองของทุกคนและสังคมสำหรับทุกคน”
Webinar ครั้งที่ 1 “การศึกษากับการสร้างเมืองของทุกคนและสังคมสำหรับทุกคน”
May 4 @ 14:00 – 16:00

ขอเชิญครู อาจารย์ นักวิชาการ นักการศึกษา และผู้ที่สนใจเข้าร่วม Webinar ครั้งที่ 1 “การศึกษากับการสร้างเมืองของทุกคนและสังคมสำหรับทุกคน” ในวันอังคารที่ 4 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.00-16.00 น
.
THAI CIVIC EDUCATION SYMPOSIUM 2021
ในหัวข้อ ‘พลเมืองศึกษาเพื่อสร้างเมืองของทุกคน’
เร่ิมต้นด้วย Webinar ครั้งที่ 1 ว่าด้วยเรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อการสร้างเมืองให้เป็นเมืองของทุกคน และการศึกษาที่นำไปสู่ความเท่าเทียมทางสังคม บนการทำงานขับเคลื่อนระดับพื้นที่ชุมชน เครือข่ายครูและนักการศึกษา และกลไกการสนับสนุนเชิงโครงสร้าง
เมืองที่เป็นของทุกคนและการศึกษาที่จะสร้างความเท่าเทียมทางสังคมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
จะใช้ต้นทุนที่ชุมชนมีในการจัดการศึกษา โดยมีกลไกลเชิงโครงสร้างร่วมผลักดันกันอย่างไร
ภายใต้เงื่อนไขความเป็นจริงของสังคมไทย
.
พบกับวิทยากรเสวนา
คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน
ศ.ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ ภาควิชาพื้นฐานและการพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นายกฯกนกศักดิ์ ดวงเรือนแก้ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา ต.แม่ออน จ.เชียงใหม่
ดร.เฉลิมชัย พันธ์เลิศ ผู้อำนวยการสถาบันสังคมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)
.
เชิญผู้สนใจเข้าร่วม Webinar ผ่านโปรแกรม Zoom Webinar
โดยการกดลิ้งค์ลงทะเบียนนี้ : https://us02web.zoom.us/…/reg…/WN_-sFq-bGRRXe_BclNpX3bFQ

May
15
Sat
2021
Webinar ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “การเรียนรู้และการมีส่วนร่วมสร้างเมืองและสังคมของทุกคน”
Webinar ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “การเรียนรู้และการมีส่วนร่วมสร้างเมืองและสังคมของทุกคน”
May 15 @ 14:00 – 16:00

ถ้า ‘เมือง’ และ ‘พลเมือง’ เป็นโจทย์
เราจะออกแบบพื้นที่และการเรียนรู้อย่างไรได้บ้าง
.
ต่อเนื่องกันในงาน THAI CIVIC EDUCATION SYMPOSIUM 2021 ‘พลเมืองศึกษาเพื่อสร้างเมืองของทุกคน’ที่จะเปิดพื้นที่เรียนรู้แก่เยาวชน ครูอาจารย์ นักการศึกษา ภาคประชาสังคม และผู้สนใจเข้าร่วม
.
Webinar ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “การเรียนรู้และการมีส่วนร่วมสร้างเมืองและสังคมของทุกคน”
ในวันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.00-16.00 น

การสัมมนาเวทีนี้จะนำทุกท่านไปพบกับรูปธรรมของการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการมีส่วนร่วมของพลเมืองในพื้นที่ปฎิบัติการนำพาแนวคิดและติดตั้ง Inclusiveness ไปสู่ผู้เรียน ผู้คน ชุมชนและเมือง เป็นการก่อร่างฐานคิด ก่ออิฐงานสร้างเมืองที่จะอยู่ร่วมเกี่ยวร้อยกันบนความหลากหลาย เคารพสิทธิ ให้ความสำคัญกับคุณค่า และไม่ทอดทิ้งกัน ผ่านพื้นที่สาธารณะ พื้นที่เรียนรู้ พื้นที่ความคิด พื้นที่ส่งเสียงตั้งคำถาม เพื่อสร้างความรู้สึกของทุกคนในการเป็นเจ้าของเมืองเจ้าของสังคมร่วมกัน
.
พบกับหลายประเด็น หลากวิทยากรเสวนา ที่จะแบ่งปันประสบการณ์จากปฎิบัตการพื้นที่และการเรียนรู้

•พื้นที่สาธารณะ คือที่ที่ทุกคนควรเข้าถึงได้อย่างเสมอภาค’
โดย วันฤดี เพ็ชรสลับแก้ว เยาวชนชมรมเพื่อนผู้พิการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

•พื้นที่อาหาร และการจัดการพื้นที่สาธารณะ
โดย อยุทธ์ ไชยา เยาวชนกลุ่ม Green Power Gangster

• ‘แม่สาย’ พื้นที่เรียนรู้ทางอัตลักษณ์และพหุวัฒนธรรม
โดย ครูคมเพชร ราชคม โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ จังหวัดเชียงราย

•ทักษะวัฒนธรรม จาก ตันหยงมัสบ้านเรา สู่ ผู้นำพลเมืองศิลป์อินเตอร์ปัตตานี
โดย ครู อับดุลเล๊าะ กอเเต โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดปัตตานี

•เสียงเยาวชน ตั้งคำถามต่อวิสัยทัศน์ผู้สมัครนายกเทศบาลนครหาดใหญ่
โดย โตมร อภิวันทนากร กลุ่มมานีมานะ โครงการหาดใหญ่เมืองสำหรับทุกคน

•ก(ล)างธงชัย พื้นที่สาธารณะ ศิลปะป๊อบอาร์ทที่พาผู้คนเข้าถึงทุนวัฒนธรรมของเมืองสกลนคร
โดย ดร.พสุธา โกมลมาลย์ มหาลัยราชภัฏสกลนคร
.
ดำเนินการเสวนาโดย ผศ.ดร.ไพลิน ภู่จีนาพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ และ อ.ชัยณรงค์ จารุพงศ์พัฒนะ คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
.
เชิญผู้สนใจเข้าร่วม Webinar ผ่านโปรแกรม Zoom Webinar
โดยการกดลิ้งค์ลงทะเบียนนี้ :
https://us02web.zoom.us/…/reg…/WN_mPPSuYCVQcap2ElvbtWD9A