หนังสือเล่มไหน พาให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์การสร้างพลเมือง
หนังสือเล่มไหน พาให้เรามองเห็นแนวทางในการสร้างห้องเรียนประชาธิปไตย
หนังสือเล่มไหน พาให้เราอยากลงมือเปลี่ยนแปลงแปลงสังคมให้ดีขึ้นกว่าเดิม
.
อ่านเล่มไหนดี ?
เมื่อต้องทำงานด้านการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง

Democracy and National Identity in Thailand เขียนโดย Michael K. Connors
.
หนังสือเล่มนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของ “ การรณรงค์ “ ประชาธิปไตยและความเป็นไทย ตั้งแต่ หลัง 2475- ราวๆ ทศวรรษ 2550 ในแง่ทฤษฎีนี่คือการที่ชนชั้นนำกลุ่มต่างๆ ในรัฐต่างแย่งกัน นิยามตัวตนให้ว่าพลเมืองไทยควรคิดถึง / เข้าใจประชาธิปไตยและความเป็นไทยอย่างไร ซึ่งเป็นสำนวนที่จะเอื้อต่อการมีอำนาจของพวกเขาได้มากที่สุด
.
ประโยชน์ต่อคนทำงานด้านนี้คือช่วยให้เข้าใจ “ หน้างาน “ ของคนทำงานรณรงค์ว่าที่ผ่านมาการรณรงค์ในแต่ละช่วงสมัยสัมพันธ์กับบริบทอะไร เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร มีเป้าหมายเพื่อตอบสนองโครงการอะไรของชนชั้นนำในตอนนั้นบ้าง
หนังสืออาจช่วยให้เราในฐานะ ผู้มาทีหลังรัฐไทย เข้าใจมากขึ้นว่า ต้องเจอกับอะไร กำลังท้าทายอะไร และทำอย่างไรถึงจะพอเปลี่ยนแปลงมันได้
.
อ.ปฤณ เทพนรินทร์
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หนังสือ “ปรัชญาชีวิต” The Prophet เขียนโดย คาลิน ยิบราน แปลโดย ระวี ภาวิไล
.
หนังสือที่งดงามด้วยภาษาและลุ่มลึกด้วยปรัชญา อาจารย์ระวีเล่าที่มาของหนังสือฉบับแปลภาษาไทย ในหน้าหมายเหตุผู้แปล ที่พบหนังสือนี้แต่ครั้งยังไม่มีเครื่องถ่ายเอกสาร จึงต้องคัดลอก และมาแปลในภายหลัง แสดงถึงความเพียรพยายามอย่างยิ่ง เกิดคุณูปการแก่สังคมมากมาย และสร้างแรงบันดาลใจแก่คนหนุ่มสาวมาทุกยุคทุกสมัย
.
ส่วนเรื่องสาระของหนังสือนั้น ยอมรับเลยว่าเมื่อแรกเริ่ม รู้สึกว่าเป็นหนังสืออ่านยาก เข้าใจยาก แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป และประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น ก็จะเริ่มเข้าใจความหมายในถ้อยคำ และทำให้เข้าใจความเป็นไปของชีวิตมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นแรงบันดาลให้ทำอะไรบางอย่าง เช่น งานเครือข่าย Thai Civic Education ก็มาจากประโยคจากหนังสือที่ว่า “เพราะว่าเสาหินของวิหาร ก็ยืนอยู่ห่างกัน” หนังสือกวีนิพนธ์เล่มนี้ จึงเป็นหนังสือที่อ่านได้เรื่อยๆ และน่าจะมีส่วนช่วยชุบชูใจ ให้เกิดสมดุลชีวิตได้เป็นอย่างดี เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับชีวิตและสังคม
.
นายเฉลิมชัย พันธ์เลิศ
ผู้อำนวยการสถาบันสังคมศึกษา สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

หนังสือ “ครูผู้สร้างพลเมือง:พลังของการเปลี่ยนแปลง” โดยมูลนิธิ Thai Civic Education
.
หนังสือ “ครูผู้สร้างพลเมือง:พลังของการเปลี่ยนแปลง” เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่คนทำงานเรื่องพลเมืองต้องอ่าน เพราะหนังสือเล่มนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของคนทำงานด้านพลเมืองที่มุ่งมั่นในการสร้างพลเมือง ให้เกิดขึ้นในสังคม ในมุมมองของพื้นที่ บริบท พหุวัฒนธรรม หรือ ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความแตกต่างกัน แต่ทุกท่านก็สามารถสร้างสรรค์วิธีการในการสร้างพลเมืองผ่านการเรียนรู้ในห้องเรียนให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นแนวทางตัวอย่าง ในการสร้างพลเมืองให้เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เวลาใด เราในฐานะคนทำงานด้านพลเมือง ก็สามารถที่จะสร้างพลเมืองที่ดีให้เกิดขึ้นในสังคมนี้ได้
.
อ.อำนาจ หงษ์โต
อาจารย์พิเศษ วิชาพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Content Learning and Development officer
บริษัท เอ็ดดูเคชั่น เทคโนโลยี จำกัด (StartDee)


ออกแบบภาพโดย Chaipat Kaewjaras

#thaiciviceducation