“11 เรื่องราว การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” ประจำปี 2021

รวมบทสัมภาษณ์ Civic Space เรื่องราวความคิดเห็น ทั้ง 11 ประเด็นจากนักเรียน ครู อาจารย์ นักการศึกษา และนักกิจกรรม ที่เราเชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยน ถกเถียง ตั้งคำถาม หรือสร้างความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพลเมืองประชาธิปไตยในมิติที่หลากหลายสำหรับปี 2022 ที่กำลังจะมาถึง…

12 ห้องเรียน สร้างพลเมืองประชาธิปไตย

รวบรวมบทสัมภาษณ์ Civic Classroom ตลอดปี 2021 ทางเราหวังว่า เรื่องราวทั้ง 12 ห้องเรียนจากครู อาจารย์ และนักกิจกรรม จะเป็นแรงบันดาลใจ ความเป็นไปได้ใหม่ และความหวัง ให้สำหรับใครหลายๆคนในการทำงานการศึกษาเพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรม ในปี 2022 ที่กำลังมาถึง…

บทสัมภาษณ์ Civic Classroom ตอนที่ 20 : บทเรียนวิชาสังคมที่ว่าด้วยเรื่องเพศ ศาสนา และความไม่เป็นธรรม

หลายคนก็อินไปด้วยเพราะว่าบางเหตุการณ์อย่างการโทษเหยื่อก็ยังเป็นปัญหาร่วมที่คนในสังคมไทยเราเจอเหมือนกัน เราชวนคุยต่อว่าวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่นี่มาจากความเชื่อแบบไหน นักเรียนค้นๆ กันต่อไปแน่นอนก็จะไปเจอว่าคำสอนแบบขงจื้อมีอิทธิพลมากกับการสร้างวัฒนธรรมนี้ในเกาหลี แต่มันไม่จบเท่านั้น ความไม่เท่าเทียมทางเพศที่มักจะถูกนำเสนอในแง่ปัญหาเชิงวัฒนธรรมหรือความเชื่อทางศาสนา อาจเป็นแค่ภาพลวงตาเพื่อให้กติกาของเกมที่ใหญ่กว่ายังคง Function ต่อไปก็ได้ บทสัมภาษณ์ Civic Classroom ตอนที่ 20 : บทเรียนวิชาสังคมที่ว่าด้วยเรื่องเพศ ศาสนา และความไม่เป็นธรรม โดย…

Civic space ตอนที่ 9 : มองการสร้างพลเมืองผ่าน Multicultural Education (การศึกษาพหุวัฒนธรรม )

โดย อาจารย์นันท์นภัส แสงฮอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . หากถามว่า การศึกษาพหุวัฒนธรรมคืออะไร อาจไม่ได้มีนิยามที่ตายตัว ยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับคำนี้อย่างต่อเนื่อง และการจะนิยามคำ ๆ ว่าคืออะไร ก็ขึ้นอยู่บริบททางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม อยากจะชวนมาดูที่เป้าหมายของการศึกษาพหุวัฒนธรรมแทนการดูนิยาม…

Civic classroom ตอนที่ 17 ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน

ห้องเรียนของอาจารย์พัทธ์ธีรา ได้หยิบยกเรื่องราวของคนไร้รัฐพลัดถิ่นมาเป็นประเด็นหลักในการสอน เพื่อพาให้ผู้เรียนได้สำรวจ ตั้งคำถาม และสะท้อนคิดกับคุณค่าความสำคัญของสิทธิมนุษยชนของตนเองและผู้อื่น เราได้มีโอกาสสอนในวิชา “สังคม สงครามและสันติ (มสสศ 102)” เป็นวิชาที่วางอยู่บนมุมมองสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ สิทธิมนุษยชน ความรุนแรงและสันติภาพ เป้าหมายก็เพื่อสร้างพลเมืองที่ตระหนักรู้เท่าทันและเป็นผู้ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปในทางที่สันติและเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งประเด็นหนึ่งที่หยิบมาสอนคือเรื่องของสิทธิคนไร้รัฐพลัดถิ่น เพราะเราจะเห็นข่าวการละเมิดสิทธิของพลเมืองที่อยู่ตามชายขอบชายแดนประเทศ ทั้งที่เป็นกลุ่มคนที่อยู่มานาน…

Civic Space ตอนที่ 6 : สอนเรื่องประชาธิปไตยด้วยหนังหรือซีรีส์

ทำไมเราควรสอนเรื่องประชาธิปไตยจากหนังหรือซีรีย์ เรื่องไหนบ้างที่ควรนำมาสอน แล้วจะสอนอย่างไร . หาคำตอบได้ใน Civic Space ตอนที่ 6 #Thaiciviceducation “The Good Doctor” . ครูสามารถใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ประชาธิปไตยที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับประเด็นที่อยู่นอกชั้นเรียนได้เป็นอย่างไร ภาพยนตร์ซีรีย์เรื่อง The Good…

Civic Classroom ตอนที่ 12 : ต่อยอดอาเซียนศึกษา สไตล์เฟมินิส

ครูสุทธาสิณี จากเครือข่าย Thai Civic Education ได้เล่าว่าวิชาอาเซียนศึกษา เธอได้ใช้มุมมองแบบเฟมนิส (สตรีนิยม) มาเป็นแนวคิดสำคัญในการออกแบบกิจกรรมให้นักเรียนได้ตระหนักและคิดเกี่ยวสิทธิผู้หญิงในอาเซียนและโลก เราได้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยทางโรงเรียนมีเป้าหมายหลักว่า ให้การเรียนการสอนไปเชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ของโรงเรียน ซึ่งหนึ่งนั้นคือการเป็นสตรีในวิถีอาเซียน และสตรีในวิถีโลก เราจึงมาตั้งคำถามกับตัวเองว่า เรามีมุมมองเกี่ยวกับสตรีอย่างไร ซึ่งเรามองว่า…

Civic Space ตอน 3 มายาคติเกี่ยวกับผู้หญิง ที่ควรถอดรื้อ

ตลอดประวัติศาสตร์ ผู้หญิงมีการต่อสู้เรียกร้องความเท่าเทียมทางเพศเสมอ แต่ทว่าในสังคมก็ยังผลิตซ้ำวาทกรรมหรือมายาคติบางอย่างให้ความไม่เท่าเทียมดำรงอยู่ ดังนั้นทางเราจึงได้รวบรวมวามเห็นของนักศึกษา ครู และอาจารย์ ที่จะชวนไปสำรวจมายาคติเกี่ยวกับผู้หญิงที่ควรถูกถอดรื้อ #แด่วันสตรีสากล เกิดเป็นผู้หญิงต้องทำงานบ้านเป็น ทำอาหารเป็น เราว่าวาทกรรมนี้ยังคงมีอยู่ในสังคมปัจจุบันมาตลอด ผู้หญิงต้องเป็นแม่บ้านแม่เรือน ต้องรู้จักทำงานบ้าน ต้องทำอาหารเป็น ส่วนผู้ชายก็ออกไปทำงานหาเงินอะไรแบบนี้ ซึ่งสังคมมักมองว่าผู้หญิงเป็นเพศที่อ่อนแอ แต่มันไม่จริงเลย เราว่าทุกคนมีความสามารถในแบบของตัวเอง ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่ถนัดเรื่องในบ้าน…

มุมมองเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในสังคมครูไทย

“ความเสมอภาคทางเพศ” เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในการสร้างสังคมที่มุ่งเน้นความเป็นธรรม วันนี้ Thai Civic Education ได้สัมภาษณ์ “ครูดรีม” หนึ่งในเครือข่ายครูที่ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยากรกระบวนการ รุ่นที่ 3 ถึงมุมมองเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในสังคมครูไทย และแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่จะนำพาผู้เรียนไปสู่ความเข้าใจเรื่องประเด็นความเสมอภาคทางเพศ ในสังคมครูไทย ให้ความสำคัญกับเรื่องความเสมอภาคทางเพศมากน้อยแค่ไหน ส่วนตัวแล้วมีมุมมองอย่างไรกับเรื่องนี้???? ครูดรีม: เรื่องความเสมอภาคทางเพศในสังคมครูไทย…

ความเสมอภาคทางเพศกับการพัฒนาสังคมในฟินแลนด์

ความเสมอภาคทางเพศกับการพัฒนาสังคมในฟินแลนด์ กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ (นักวิชาการอิสระ), 10 Mar 2017 หนังสือชื่อ Through Finland in Carts โดย Mrs. Alec Tweedie ตีพิมพ์เมื่อปี 1913…