ความสามารถในการตั้งคำถามด้วยตัวเองเป็นสิ่งจำเป็นต่อทำให้นักเรียนเป็นคนที่เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจำเป็นต่อการเป็นพัฒนาความเป็นปัจเจกที่สามารถคิดและค้นคว้าหาคำตอบเองได้และย่อมสำคัญต่อพลเมืองประชาธิปไตยที่ต้องแข็งขันในการหาความรู้และข้อมูลอยู่เสมอ
.
ครูส่วนใหญ่เข้าใจข้อดีของการให้นักเรียนตั้งคำถามเองได้ และก็หวังให้นักเรียนตั้งคำถามในชั้นเรียน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือช่วงการถามคำถามมักไม่ได้สปอตไลท์ในชั้นเรียน การให้นักเรียนถามคำถามมักจะเป็นช่วงเสริมเพื่อฆ่าเวลาตอนท้ายคาบ หรือถามเพื่อเช็คความเข้าใจเท่านั้นเอง
.
ลองนึกดูครับ พอถึงท้ายคาบเราก็จะถามว่า “อ้าว มีใครมีคำถามอะไรไหม?” ทั้งที่เราก็รู้ว่านักเรียนอยากจะเลิกเรียนแล้วเดินไปเรียนวิชาอื่น หรือท้ายการนำเสนอหน้าชั้นเรียน เราถามนักเรียนว่า “มีใครมีคำถามให้เพื่อนไหม” ทั้งๆ ที่เราไม่ได้ชัดเจนว่าอยากให้นักเรียนถามเพื่ออะไร เพื่อหาจุดบกพร่อง? เพื่อชวนคุยต่อ? ทั้งๆ ที่เวลาก็แทบจะไม่พอให้กลุ่มต่อไปนำเสนออยู่แล้ว เมื่อการสื่อสารเป้าหมายของเราไม่ชัดเจน นักเรียนก็ไม่เข้าใจว่าจะถามไปทำไป แถมยังเสี่ยงจะถูกมองว่าเป็นการแกล้งเพื่อนกลุ่มที่นำเสนอหน้าชั้นอีกต่างหาก
.
ประการที่สองนอกเหนือจากเป้าหมายของคำถามที่ไม่ชัดเจนก็คือ นักเรียนไม่รู้วิธีการถามคำถามที่ดี ในฐานะนักการศึกษา การไม่รู้ของนักเรียนไม่เคยเป็นเรื่องผิดหากเขาถามจากความสงสัยใคร่รู้จริงๆ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าคำถามที่เขาถาม (หรือแม้แต่คำถามที่ผู้ใหญ่ถาม) กลับไม่ช่วยตอบคำถามที่เขาสงสัย เพราะคำพูดเขาอาจไม่ตรงเป้าหมาย เช่น ถามความคิดเห็นแต่ได้คำถามเป็นข้อเท็จจริง หรือถามหาข้อเท็จจริงแต่ได้ความคิดเห็นกลับมา
.
ประการที่สาม นักเรียนไม่ได้สนใจในเนื้อหา เพราะเขาไม่สามารถเชื่อมโยงกับประสบการณ์ชีวิตของเขาได้ เขาสามารถพบข้อสรุปว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียนจะเปลี่ยนแปลงความเข้าใจในชีวิตประจำวันของเขาได้อย่างไร
โดยสรุป สิ่งที่ทำให้นักเรียนไม่ถามคำถามก็คือ 1) ครูไม่ได้เปิดช่องว่าให้เพียงพอในการถามคำถาม 2) ครูไม่ได้ฝึกฝนทักษะการตั้งคำถาม และ 3) คำถามนั้นไม่น่าสนใจ
.
ผมเสนอว่าหากเราต้องการให้นักเรียนตั้งคำถามของตัวเองและกลายเป็นผู้ที่เรียนรู้ได้ด้วยตัวเองได้ ครูต้องแบ่งเวลาให้กับฝึกการตั้งคำถามอย่างจริงจัง และบ่อยครั้ง เช่น 10-15 นาที และทำอย่างเป็นประจำ คำถามเหล่านี้ต้องถูกให้ความสำคัญ ก็คือต้อช่วยกันคิดและหาคำตอบต่อคำถามอย่างจริงจังด้วย มิเช่นนั้น นักเรียนจะรู้สึกว่า แค่ถามเพียงเพื่อได้ถาม แต่ไม่ได้คิดว่าจะต้องคุยเรื่องนั้นจริงๆ
.
ผมจึงเสนอแนวทางการตั้งคำถามง่ายๆ เรียกว่า “ Question Quadrant” ที่นำเสนอโดย Philip Cam เพื่อเห็นว่าการถามคำถามมีหลายแบบ และแต่ละแบบมีข้อดีและเป้าหมายในการใช้ที่แตกต่างกันไป ซึ่งตัวอย่างนี้คิดโดย Philip Cam ซึ่งถ้าเราลองเอารูปนี้มาชวนตั้งคำถามในห้องเรียน เราจะสามารถถามคำถามอะไรได้บ้าง? คงจะมีหลายคำถามผุดขึ้นมา เรามาลองดูพอเป็นตัวอย่างได้ดังนี้
1. เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ไหน?
2. กลุ่มคนที่มีเครื่องหมายกาชาดบนเสื้อคือใคร?
3. เด็กถืออะไรอยู่ในมือ?
4. คิดว่าภาพนี้พยายามสื่อถึงอะไร
5. จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กคนนี้
6. คนที่นั่งดูการถ่ายทอดจากสื่ออยู่ที่บ้านจะรู้สึกอย่างไรกับสงคราม?
7. ศิลปินที่วาดภาพนี้ชื่ออะไร
8. ภาพนี้ใช้วัสดุอะไรในการวาด
9. การใช้สื่อส่งผลต่อการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม (humanitarian aid) อย่างไร
10. การสื่อข่าวเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้สังคมภายนอก สร้างผลเสียหรือผลดีให้ผู้ที่ประสบปัญหานั้นมากกว่ากัน?
11. มีสงครามใดที่ชอบธรรมหรือไม่?
.
จัดกลุ่มคำถามด้วยกรอบ Question Quadrant

คำถามที่ให้เราลองคิดมาข้างต้นนั้นมีคำถามหลายแบบที่อาจจะชวนให้นักศึกษาได้คิดแตกต่างกันไป Philip Cam เสนอว่าเราสามารถลองประเภทมันออกมาเป็น 4 ด้าน โดยแกนแนวตั้งคือ คำถามนั้นเกี่ยวข้องกับตัวกระตุ้นมากแค่ไหน และแกนแนวนอนคือ คำถามที่ผู้เรียนถามนั้นเป็นคำถามปลายปิดหรือปลายเปิด ทำให้แยกประเภทของคำถามได้เป็น 4 กลุ่มด้วยกัน (ดังแผนภาพในคอมเม้น)
.
Quadrant ซ้าย-บน: คำถามเพื่อชี้แจงความเข้าใจ

เป็นคำถามที่เจาะจงเกี่ยวกับตัวกระตุ้นและเป็นคำถามปลายปิด คำถามประเภทนี้อาจไม่ได้ช่วยให้เกิดการถกเถียงมากนัก แต่ก็เป็นคำถามที่จำเป็นโดยเฉพาะในช่วงแรกที่ผู้สอนนำเสนอตัวกระตุ้น เพราะผู้เรียนอาจไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพคือะไร (แต่ต้องระวังไม่เลยเถิดไปถึงการตีความตัวกระตุ้นแทนผู้เรียน)

หากจะจัดกลุ่มคำถามข้างต้น ข้อ 1) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ไหน 2) คนที่มีเครื่องหมายกาชาดสีแดงบนเสื้อคือใคร 3) เด็กถืออะไรอยู่ในมือ? น่าจะอยู่ในกลุ่มนี้
.
Quadrant ขวา-บน: คำถามเชิงคาดการณ์

ตำถามประเภทนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ตีความ ให้ความหมาย และจินตนาการถึงสิ่งน่าจะเกิดขึ้นภายใต้ข้อมูลที่จำกัด คำถามนี้จึงเหมาะจะสร้างให้เกิดการคิดอย่างสร้างสรรค์ (creative thinking) โดยการตั้งข้อสันนิษฐานว่าจะเกิดอะไรต่อไป

อาจจัดคำถามที่ 4) คิดว่าภาพนี้พยายามสื่อถึงอะไร 5) จะเกิดอะไรขึ้นกับเด็กคนนี้ 6) คนที่นั่งดูการถ่ายทอดจากสื่ออยู่ที่บ้านจะรู้สึกอย่างไรกับสงคราม อยู่ในกลุ่มนี้
.
Quadrant ซ้าย-ล่าง: คำถามเชิงข้อเท็จจริง

คำถามนี้คือคำถามที่นอกเหนือไปจากเนื้อหาของตัวกระตุ้นที่เรานำเสนอให้นักศึกษา ซึ่งเป็นคำถามปิด วิธีการง่ายๆในการดูว่าคำถามหนึ่งอยู่กลุ่มนี้หรือไม่คือถามว่า “คำถามนี้หาคำตอบในกูเกิ้ลได้ไหม?”

คำถามที่ 7) ศิลปินที่วาดภาพนี้ชื่ออะไร และ 😎 ภาพนี้ใช้วัสดุอะไรในการวาด
.
Quadrant ขวา-ล่าง: คำถามเชิงปรัชญา
คำถามในกลุ่มนี้มีความกว้างและสามารถขยายประเด็นออกไปไกลกว่าที่ตัวกระตุ้นเสนอได้ และเป็นคำถามปลายเปิด ซึ่งน่าจะช่วยให้เกิดคำตอบที่หลากหลายได้
หากจะจัดกลุ่มแล้ว คำถามที่ 9) การใช้สื่อส่งผลต่อการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม (humanitarian aid) อย่างไร? 10) การสื่อข่าวเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสงครา สร้างผลเสียหรือผลดีให้ผู้ที่ประสบปัญหานั้นมากกว่ากัน? 11) มีสงครามใดที่ชอบธรรมหรือไม่? น่าจะอยู่ในกลุ่มนี้ได้
.
จะเห็นว่าแต่ละคำถามเป็นคำถามที่ครูสามารถเลือกหยิบมาใช้ในหลายสถานการณ์ และทักษะวิเคราะห์คำถามของตัวเองยังช่วยให้นักเรียนเข้าใจว่าสิ่งที่ตนถามนั้นคือเรื่องอะไร มีเป้าหมายอะไร หากเขาต้องการถามคำถามท้ายคาบเพื่อให้เกิดการสนทนาต่อ เจาควรถามคำถามเชิงปรัชญาซึ่งกว้างกว่าเนื่อหานั้น แต่ถ้าเขาไม่เข้าใจสิ่งที่เพื่อนพูด เขาควรถามคำถามเพื่อชี้แจงความเข้าใจ และการเปิดแนวทางการตั้งคำถามหลากหลายรูปแบบและหลากหลายเป้าหมายยังช่วยให้นักเรียนถามคำถามที่พวกเขาสนใจจริงๆ ด้วย ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา 3 ข้อที่ทำให้นักเรียนไม่ตั้งคำถาม ดังทีผมได้กล่าวไปข้างต้น
.
ประชาธิปไตยตั้งอยู่บนความหลากหลายของปัจเจกที่สามารถตั้งคำถามและการคิดได้ด้วยตัวเอง หลายครั้งเรารู้จักตัวตนของคนจากสิ่งที่เขาพูดและตอบ แต่เราก็สามารถรู้จักตัวตนของคนจากคำถามที่เขาตั้งได้เช่นกัน


เขียนโดย ภี อาภรณ์เอี่ยม
_
Source:
Cam, P. (2006). 20 Thinking Tools: Collaborative inquiry for the classroom. Victoria: Acer Press.
_
Source: picture by Banksy

#thaiciviceducation