จักรธร ดาวแย้ม จากกลุ่มมาร์กซิสต์ศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TUMS) คนรุ่นใหม่ที่อยากเห็นสังคมที่เท่าเทียม เขาจึงเริ่มทำกลุ่มศึกษาร่วมกับเพื่อนๆ ที่เสมือนเป็นห้องเรียนให้ผู้คนได้มาพูดคุยเกี่ยวกับการกดขี่ และความไม่ธรรมทางสังคม ผ่านมุมมองแบบฝ่ายซ้าย ซึ่งห้องเรียนที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่แค่การเอาทฤษฏีมาบอกเล่า แต่ได้เปิดให้ผู้เข้าร่วมได้ตั้งคำถาม วิเคราะห์ ดึงเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อมองเห็นอำนาจที่ครอบงำ และค้นหาความเป็นได้ของสังคมที่ดีกว่าเดิม

#thaiciviceducation

ในการจัดการเรียนรู้ เราเน้นการให้ผู้เข้าร่วมได้เอาประสบการณ์รอบตัวที่เขาเจอในชีวิตออกมาพูด ออกมาเล่า จากนั้นจึงค่อยนำทฤษฎีมาเชื่อมโยงเพื่อให้มองเห็นภาพ ยกตัวอย่างเช่น ในคลาสเรียนหัวข้อ : อำนาจนำและอำนาจนำต่อต้าน (Hegemony and Counter Hegemony) ที่ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนถึงอำนาจที่ส่งผลต่อตัวพวกเขาในชีวิตประจำวัน เช่น เพลงชาติ ตำราเรียน เป็นต้น โดยจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยโดยมีทีมงานประจำอยู่เป็นผู้ดำเนินการให้เกิดการแลกเปลี่ยน จากนั้นจะมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันต่อในวงใหญ่เพื่อให้ทุกคนได้ฟังสิ่งที่แต่ละวงคุยกัน จากนั้นเราค่อยนำสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้เข้าร่วมได้พูดคุยกันมาเชื่อมโยงกับเนื้อหาทางทฤษฎีที่เตรียมใว้
.
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง คือห้องเรียนในหัวข้อ : รัฐและการปฏิวัติ ซึ่งนำเนื้อหามาจากหนังสือของนักคิดฝ่ายซ้ายวาลาดิเมีย เลนิน (Vladimir Lenin) โดยมีการนำเนื้อหาจากในหนังสือมาเรียบเรียงใหม่เป็นโค้ด ประมาณ 7-8 โค้ดที่สำคัญ และให้ผู้เข้าร่วมได้โต้แย้งและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจนนำไปสู่การสรุปว่าหนังสือเล่มนี้พยายามจะนำเสนออะไร

ในการจัดการเรียนรู้ เราเน้นการให้ผู้เข้าร่วมได้เอาประสบการณ์รอบตัวที่เขาเจอในชีวิตออกมาพูด ออกมาเล่า จากนั้นจึงค่อยนำทฤษฎีมาเชื่อมโยงเพื่อให้มองเห็นภาพ ยกตัวอย่างเช่น ในคลาสเรียนหัวข้อ : อำนาจนำและอำนาจนำต่อต้าน (Hegemony and Counter Hegemony) ที่ให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนถึงอำนาจที่ส่งผลต่อตัวพวกเขาในชีวิตประจำวัน เช่น เพลงชาติ ตำราเรียน เป็นต้น โดยจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยโดยมีทีมงานประจำอยู่เป็นผู้ดำเนินการให้เกิดการแลกเปลี่ยน จากนั้นจะมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันต่อในวงใหญ่เพื่อให้ทุกคนได้ฟังสิ่งที่แต่ละวงคุยกัน จากนั้นเราค่อยนำสิ่งต่าง ๆ ที่ผู้เข้าร่วมได้พูดคุยกันมาเชื่อมโยงกับเนื้อหาทางทฤษฎีที่เตรียมใว้
.
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง คือห้องเรียนในหัวข้อ : รัฐและการปฏิวัติ ซึ่งนำเนื้อหามาจากหนังสือของนักคิดฝ่ายซ้ายวาลาดิเมีย เลนิน (Vladimir Lenin) โดยมีการนำเนื้อหาจากในหนังสือมาเรียบเรียงใหม่เป็นโค้ด ประมาณ 7-8 โค้ดที่สำคัญ และให้ผู้เข้าร่วมได้โต้แย้งและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจนนำไปสู่การสรุปว่าหนังสือเล่มนี้พยายามจะนำเสนออะไร

สิ่งที่เกิดขึ้นในห้องเรียน นอกจากจะทำให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจว่าทฤษฎีฝ่ายซ้ายไม่ใช่เรื่องที่ยากหรือไกลตัวอีกต่อไปแล้ว เขายังเริ่มกลับมาคิดเรื่องสังคมนิยมกันมากขึ้น ซึ่งจะจุดประกายให้แนวคิดนี้ได้ถูกพูดถึงกันมากขึ้นในสังคมต่อไป โดยเริ่มจากการตั้งคำถามและถกเถียงว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างในสังคม ขณะเดียวกันก็เริ่มมองเห็นว่าในโลกปัจจุบันนอกจากการต่อสู้กับการถูกครอบงำโดยอำนาจจากรัฐแล้ว เรายังจำเป็นต้องต่อสู้กับการครอบงำทางเศรษฐกิจของระบบทุนนิยมอีกด้วย ความไม่ธรรม ความเหลื่อมล้ำ ที่วางอยู่บนแนวคิด