ครูศิริวัฒน์ ชูแสงนิล โรงเรียนโยธินบำรุง นครศรีธรรมราช ครูสอนวิชาสังคมศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาค้นคว้าอิสระหรือวิชา IS ควบคู่ไปด้วย เขาเปลี่ยนวิชานี้จากแค่ให้นักเรียนทำเล่มรายงานส่ง มาสู่เป้าหมายเพื่อสร้างทักษะพลเมืองให้มีความฉลาดทางดิจิตอล รวมถึงสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองท้องถิ่นชุมชนขึ้นในห้องเรียน เพื่อที่ให้นักเรียนของเขามองเห็นปัญหาที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ผ่านการค้นคว้า ลงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำมาสู่ข้อสรุปถึงแนวทางแก้ไขทั้งในระดับตัวเองและระดับสังคม

วิชาค้นคว้าอิสระหรือที่เรารู้จักกันดีในวิชา IS ครูศิริวัฒน์ มองว่าวิชานี้เป็นได้มากกว่าการมาทำเล่มรายงานส่ง ดังนั้นเริ่มแรก เราฝึกนักเรียนให้เป็นพลเมืองที่มีทักษะความฉลาดทางดิจิตอล นักเรียนเขาจะต้องหาข้อมูลเป็น หาข้อมูลจากหลายแหล่งได้ เมื่อได้ข้อมูลมา เขาจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เราอยากให้นักเรียนเห็นว่าไม่ใช่ว่าข้อมูลทุกอย่างที่หามาได้จะน่าเชื่อถือ สิ่งนี้คือบันไดขั้นแรกที่เราสร้างให้เกิดขึ้น
__
Civic Classroom ตอนที่ 3 : ความเป็นพลเมือง สร้างได้ในคาบเรียน IS
ครูศิริวัฒน์ ชูแสงนิล โรงเรียนโยธินบำรุง นครศรีธรรมราช ครูสอนวิชาสังคมศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาค้นคว้าอิสระหรือวิชา IS ควบคู่ไปด้วย เขาเปลี่ยนวิชานี้จากแค่ให้นักเรียนทำเล่มรายงานส่ง มาสู่เป้าหมายเพื่อสร้างทักษะพลเมืองให้มีความฉลาดทางดิจิตอล รวมถึงสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองท้องถิ่นชุมชนขึ้นในห้องเรียน เพื่อที่ให้นักเรียนของเขามองเห็นปัญหาที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ผ่านการค้นคว้า ลงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำมาสู่ข้อสรุปถึงแนวทางแก้ไขทั้งในระดับตัวเองและระดับสังคม

ถัดมาเราจึงเริ่มให้เขาทำโปรเจคจากเรื่องใกล้ตัว ให้เขาสำรวจดูว่าในชุมชนของตัวเอง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ตัวอย่างเช่น นักเรียนกลุ่มหนึ่งก็จะเสนอปัญหาน้ำท่วมในเมืองนครศรีธรรมราช เขาตั้งข้อสังเกตน่าสนใจว่า แม้ภาคใต้จะมีฝนตกบ่อยมาก จนเกิดน้ำท่วม แต่ทำไมหน้าแล้งกลับมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ
.
เมื่อนักเรียนได้หัวข้อแล้ว เราก็ให้พวกเขาลงไปหาข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์สาเหตุจากหลายแง่มุม เช่น กรณีน้ำท่วม เขาพบว่า บางบ้านตั้งเขาเกิดมาไม่เคยเจอน้ำท่วมเลย แต่พอปี 2561 เกิดน้ำท่วมใหญ่ นักเรียนก็วิเคราะห์ออกมาว่า มาในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา มันไปสัมพันธ์กับการเติบโตของเมืองนครศรีธรรมราช การเติบโตดังกล่าวไม่ได้มีระบบจัดการผังเมืองที่ดีพอ พอเขาเห็นแบบนี้แล้ว เราก็ให้พวกเขาลองหาวิธีแก้ปัญหาชุมชนของเขาในอนาคต ทั้งหมดนี้เกิดจากการที่นักเรียนต้องลงสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากคนในท้องถิ่นชุมชน และเอามาวิเคราะห์ประกอบกับแหล่งมีข้อมูลอื่น แล้วจึงเรียบเรียง นำเสนอเป็นบทความสั้น ๆ เพื่อสะท้อนปัญหา

นอกจากนี้ที่ผ่านมาปัญหาท้องถิ่น ปัญหาชุมชน นักเรียนมองไกลตัวออกไป เราจึงกระตุ้นให้พวกเขาตระหนักว่า ตัวเขาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยให้โจทย์ว่า ถ้าในระดับตัวเขาเองหรือคนรอบข้าง เขาสามารถทำอะไรได้บ้าง ผลปรากฏว่า ตัวเขาก็มองว่าเขาจะไม่ทิ้งขยะ หรือไม่ไปเทน้ำมันลงท่อ เพราะมีร้านค้าบางร้านทิ้งลงไป พอถึงฤดูที่ต้องใช้ท่อระบายน้ำก็มีปัญหา ขณะเดียวกันเราก็ท้าทายพวกเขาต่อไปว่า ถ้าในระดับที่นอกจากตัวเอง องค์กรใดหรือหน่วยงานใดในพื้นที่ที่ต้องเข้ามามีส่วนช่วยแก้ปัญหา นักเรียนก็ไปหามา แล้วเจอว่าหน่วยงานท้องถิ่นของพวกเขา มีการจัดโครงการที่ทุ่มเงินเพื่อทำโครงการผันน้ำ นักเรียนเริ่มมองเห็นว่าปัญหาบางอย่างควรใช้อำนาจจากข้างบนเข้ามาจัดการควบคู่ไปด้วย
.
สุดท้ายการทำเรื่องนี้เราเราไม่อยากให้เขาหยุดเพียงแค่เข้าใจปัญหา แต่จะทำอย่างไรให้คนในกลุ่มอื่นๆ ในโรงเรียนหรือชุมชนท้องถิ่นเขาได้เข้าใจไปด้วยกัน ก็เลยให้เขาลองทำ Boardgame เพื่อมาสื่อสารดู จากต้นทุนองค์ความรู้ที่เขามีมากขึ้นจากการเรียนรู้


#thaiciviceducation
#civicclassroomTCE