ครูจักรกฤษณ์ ต่อพันธ์ จากโรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา ครูชาวอีสานที่สร้างบทเรียนเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยให้เชื่อมโยงถึงชีวิตนักเรียน ที่สำคัญเขานำเอามายาคติโง่จนเจ็บที่ฝังรากลึกมานาน มาให้นักเรียนได้วิเคราะห์ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่อยากเห็น

เราเริ่มต้นเปิดคลิป “อีสานในความทรงจำและวันพรุ่งนี้” ให้นักเรียนดู เพื่อให้เขาสะท้อนความคิดออกมาว่า เศรษฐกิจและสังคมของภาคอีสานเป็นอย่างไร จากนั้นชวนเขาเปรียบเทียบถึงอดีต ปัจจุบัน และจินตนาการถึงอนาคตของอีสานว่าจะเป็นอย่างไร เพื่อให้นักเรียนได้วิเคราะห์นโยบายเศรษฐกิจและการพัฒนางประเทศไทยกับบทบาทของการเป็นพลเมือง โดยมองผ่านสองมุมมอง คือ
.
1. นักเรียนมองอีสานอดีตถึงปัจจุบันเป็นอย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง
2. นักเรียนมองอีสานจากปัจจุบันไปยังอนาคตเป็นอย่างไร อยากให้เกิดอะไรขึ้น

ในส่วนอดีตนั้นเราชวนนักเรียนวิเคราะห์เกี่ยวกับมายาคติที่ว่า “โง่_จน_เจ็บ” ว่าเป็นจริงหรือไม่ในสังคมอีสานทีผ่านมา เช่นการบอกว่าคน อีสานเป็นสังคมที่โง่ จน เจ็บ คือเต็มไปด้วยคนไม่มีความรู้ การศึกษาต่ำ (โง่) เต็มไปด้วยคนที่ไม่ฐานะทางเศรษฐกิจ รายได้ต่ำ (จน) และเต็มไปด้วยความเจ็บป่วยและสุขภาวะต่ำ (เจ็บ)
.
นักเรียนคนหนึ่งมองว่า ชีวิตของคนอีสานเริ่มจากชีวิตเรียบง่ายมาสู่สังคมที่เศรษฐกิจไม่ดี ทำให้คนในสังคมต้องดิ้นรน เขาตั้งคำถามถึงรายได้ของเกษตรกรที่ไม่สู้ดีนัก ทำไมชีวิตของคนอีสานจึงถูกละเลยจากส่วนกลางในหลายเรื่อง จุดนี้สะท้อนได้ว่า นักเรียนเริ่มเห็นว่า “มายาคติโง่จนเจ็บ” เป็นผลมาจากนโยบายรัฐที่ไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเท่าเทียม

“ถ้าเช่นนั้นในอนาคตนักเรียน อยากเห็นอีสานเป็นอย่างไร” เป็นคำถามที่สองที่ผมชวนนักเรียนวิเคราะห์ เพื่อให้เปิดโอกาสให้นักเรียนได้กล้าเปลี่ยนแปลงมายาคติที่เป็นอยู่ คำตอบที่น่าสนใจคือนักเรียนส่วนหนึ่งก็มองว่าอยากให้อีสานกลับไปสู่วิถีชีวิตทีเรียบง่าย แต่ขณะที่นักเรียนอีกกลุ่มก็มองว่า อีสานควรสู่ไปความเป็นเมืองมากขึ้น เกิดการพัฒนานวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าเกษตรและมีอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญเขาเห็นว่าควรมีการกระจายอำนาจทางการเมืองเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามความต้องการของท้องถิ่น ไม่ใช่การสั่งการจากรัฐ
.
สุดท้ายนักเรียนตั้งคำถามกับสิ่งที่เกิดขึ้นว่า “จะทำอย่างไรถึงให้คนอีสานได้มีพลังต่อรองกับอำนาจรัฐได้”


ออกแบบภาพโดย Chaipat Kaewjaras

#thaiciviceducation
#civicclassroomTCE