วันแรงงานสากล วันนี้มีความหมายอย่างไร แล้วทำไมครูควรสอนเรื่องนี้ ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ของครูทั้ง 3 คนที่ได้มาแลกเปลี่ยนให้เห็นแง่มุมทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของแรงงานและคนทำงาน และการสอนควรให้นักเรียนได้มองเห็นแรงงานที่เชื่อมโยงถึงสิทธิ ความเป็นธรรม และคุณภาพชีวิต

.

คนทำงานหรือแรงงานเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนทั้งเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ครูควรสอนให้ผู้เรียนได้ตระหนักและเรียนรู้สิ่งนี้เป็นสามัญนึก ที่สำคัญไปกว่านั้นในวันที่ผู้เรียนก้าวเข้าไปเป็นคนทำงาน เขาจะตระหนักว่าเราทุกคนคือคนสร้างชาติ เราคือคนพัฒนาประเทศนี้ ดังนั้นเราคือผู้ทรงสิทธิที่จะเรียกร้องให้ประเทศนี้พัฒนาและต่อต้านสิ่งที่ขัดขวางความเจริญของประเทศ
.
มายมิ้น ศุกรียา คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

.

เด็กๆในห้องเรียนที่เรากำลังสอนอยู่ตอนนี้ ในอีก 10 หรือ 20 ปีข้างหน้า พวกเขาจะเติบโตไปเป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และไม่ว่าอนาคต เขาจะเลือกเป็น Skilled labor หรือ Unskilled labor
.
ก็ต้องทำให้นักเรียนเห็นว่าแรงงานทุกแบบล้วนมีคุณค่าต่างกัน ทุกคนต่างก็มีส่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยกัน และเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนไหวเรียกร้องของสหภาพแรงงานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของตัวเอง กว่าที่แรงงานทั่วโลกจะได้รับความเป็นธรรม เช่น เรื่องชั่วโมงการทำงาน การคุ้มครองสวัสดิการต่างๆ มันคือเรื่องหลักสิทธิมนุษยชน โดยใช้วิธีการทางประชาธิปไตย ซึ่งทั้งหมดมีในหลักสูตรที่เราต้องสอนและปลูกฝังให้เค้าเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
.
ครูจันทิมาพร ชีวะสวัสดิ์
โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน

.

แรงงานเป็นรากฐานของทุกสังคม หากไม่มีแรงงานแล้วความเจริญและกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ และในความเป็นจริงแล้วเราส่วนใหญ่ต่างก็เป็นคนทำงานหรือแรงงานที่ใช้ทักษะเพื่อแลกค่าตอบแทน แรงงานคือคนส่วนใหญ่ในสังคม และเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนสังคม จนถึงพลังในการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ถ้าแรงงานสามัคคีกัน
.
มันจึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากที่นักเรียนควรจะได้เรียนรู้ความสำคัญของแรงงาน เพราะวันหนึ่งเขาก็ต้องเติบโตขึ้น ถ้าเขาเป็นแรงงานในอนาคต เขาก็ควรจะรู้ว่าสิทธิและสวัสดิการต่างๆ ที่เขามีนั้นมันมาจากการต่อสู้เรียกร้องของแรงงานในอดีต เรียนรู้ว่าสหภาพแรงงานขับเคลื่อนประชาธิปไตยในที่ทำงานและสังคมได้อย่างไร และเรียนรู้ว่าแรงงานสำคัญกับความเป็นไปในสังคมมากขนาดไหน
.
หรือถ้าเขาเติบโตเป็นผู้ประกอบการ เขาก็จะได้เข้าใจมุมมองของแรงงาน และเคารพแรงงานในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่ควรจะมีสวัสดิภาพที่ดีในการทำงาน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งมันก็ส่งผลให้งานมีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งมันก็จะส่งผลดีกับทั้งสองฝ่าย เพราะอย่างไรแรงงานกับผู้ประกอบการก็ต้องอยู่ร่วมกันและพึ่งพาอาศัยกัน

“เราจะสร้างสังคมที่ดีได้ ก็ด้วยการยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงาน ถ้ารากฐานไม่แข็งแรง สังคมจะดีได้อย่างไร”
.
ครูคีตภัทร ขจัดภัย


ภาพโดย Chaipat Kaewjaras
#thaiciviceducation