จากบทความตอนแรก ได้นำเสนอ ข้อจำกัดในมุมมองของผู้ปฏิบัติข้างตนนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ 6 ตุลาฯ ในห้องเรียนเกิดขึ้นได้ยาก และสร้างแรงผลักให้กระบวนการเรียนรู้ต้องไปเกิดขึ้นนอกห้องเรียน นักเรียนที่สนใจก็อาจจะไปหาความรู้ด้วยตัวเองแล้วนำมาถามครู ซึ่งก็ยังคงผลิตซ้ำการหาความรู้แบบด้านเดียว และพลาดโอกาสอันมีค่าในการให้นักเรียนได้ร่วมกันมองเหตุการณ์จากหลายมุมมองและใช้หลักฐานหลายชุดมาประกอบการตัดสินใจเชื่อ

ดังนั้นบทความตอนที่ 2 จะเป็นกล่าวถึงทิศทางการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ครวจะเป็น
.
การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ต้องปรับตัวอย่างไร

ข้อสรุปที่ผมได้จากเหล่าคุณครูก็คือ หากเราต้องการเปลี่ยนให้การสอนประวัติศาสตร์เป็นพื้นที่ที่ผู้เรียนมีทักษะในการวิเคราะห์สังคมด้วยฐานคิดทางประวัติศาสตร์ ระบบการศึกษาต้องเปลี่ยนไปในสามด้านด้วยกัน
.
1) เปลี่ยนกระบวนการสอนและบทบาทของครูให้มีการถกเถียงและตีความประวัติศาสตร์มากขึ้น

เราจำเป็นต้องเขาใจเสียใหม่ว่านักเรียนไม่ได้เป็นกล่องเปล่า แต่พวกเขามีประสบการณ์และข้อมูลที่ได้รับรู้มาก่อนแล้วจากครอบครัวและสื่อต่างๆ ที่พวกเขารับมา ดังนั้น เราไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบมีครูเป็นผู้ให้ข้อมูลแต่ฝ่ายเดียวได้อีกต่อไป เราควรเปลี่ยนมาใช้การสอนที่เน้นการถกเถียงอย่างเป็นระบบและเปิดพื้นที่ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นว่าพวกเขามีความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์อย่างไร พร้อมทั้งได้มีโอกาสวิเคราะห์และประเมินว่าการกระทำต่างๆ ของที่ตัวละครในประวัติศาสตร์นั้นเหมาะสมหรือไม่
.
แน่นอนว่าการครูยังคงจำเป็นต้องให้ข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้การถกเถียงยังตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสาตร์ แต่การให้ข้อมูลก็ทำได้โดยไม่ต้องบอกโดยตรง แต่ผ่านการสร้างสถานการณ์ในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะทางประวัติศาสตร์ เช่น การให้หลักฐานสอนด้านเพื่อให้ผู้เรียนประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การใช้ตรรกะการเทียบเคียงเหตุการณ์ในอดีตเป็นบทเรียนเพื่อช่วยการตัดสินใจ และชวนให้ผู้เรียนเห็นว่าแนวคิดที่ต่างกันนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต่างกันอย่างไร
.
2) ควรเน้นเนื้อหาเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
เนื้อหาที่สอนในวิชาประวัติศาสต์ต้องมีการเปลี่ยนแปลง คือ กล่าวถึงประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ใกล้ตัวผู้เรียนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งต้องเพิ่มมุมมองการเล่าประวัติศาสตร์ของสามัญชนมแทนการเล่าเนื้อหาที่เน้นบทบาทของกษัตริย์และชนชั้นนำ การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาน่าจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาประวัติศาสตร์เข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบันได้ และเข้าใจสำคัญว่าเหตุการณ์ในอดีตส่งผลพวงมาถึงปัจจุบันอย่างไรในระดับปัจเจกและโครงสร้างสังคม
.
ในกรณีเนื้อหาของเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ แม้จะผู้เรียนจะสามารถหาข้อมูลเองได้ แต่ก็ยังมีความจำเป็นต้องเพิ่มเนื้อหานี้เข้าไปอยู่ในหลักสูตรและหนังสือเรียน มิเช่นนั้นแล้ว การกล่าวถึงเหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาก็จะยังเป็นช่องทางให้ผู้สอนใช้เลือกวิจารณญาณที่จะไม่สอนได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่าการไม่มีข้อมูลที่เพียงพอ อึดอัดใจที่จะตอบคำถาม หรือการไม่มีเวลาสอนก็ตาม แต่การกล่าวถึงต้องเป็นไปอย่างเป็นกลาง และมีแนวทางการสอนที่ไม่นำไปสู่การชวนเชื่อชุดข้อมูลด้านใดด้านเดียว แต่ขณะเดียวกัน เราก็ต้องก้าวข้ามแนวคิดเรื่องการสอนแต่สิ่งที่ออกสอบ และสนใจที่คุณค่าของความรู้เป็นหลัก
.
3) พัฒนาครูให้พร้อมสอนทั้งความรู้เชิงคอนเสป ข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ ทักษะ และกระบวนการ

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนประวัติศาสตร์หมายความว่าครูจำเป็นต้องพัฒนาความรู้และทักษะการวิเคราะห์สังคม ครูยังจำเป็นต้องเพิ่มความเข้าใจเชิงมโนทัศน์เพื่อการวิเคราะห์กลไกทางสังคมยิ่งขึ้นเพื่อใช้ประวัติศาสต์เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อเชื่อมโยงไปสู่แนวคิดเชิงนามธรรมและชวนผู้เรียนตอบคำถามคณค่า เช่น การถามนักเรียนต่อไปว่า “พลเมืองที่ดีต้องเป็นอย่างไร” ครูนิวเล่าถึงการสอนเพื่อสร้างความเข้าใจคนอื่น (empathy) ผ่านการบวนการทางประวัติศาสตร์ โดยเธอให้นักเรียนสวมบทบาทเป็นตัวละครในประวัติศาสตร์ และทำความเข้าใจว่าพวกเขาจะรู้สึกอย่างไร โดยเฉพาะฝ่ายผู้ถูกกระทำ
.
ประการต่อมาผู้สอนต้องก้าวข้ามการสอนประวัติศาสตร์แบบเล่าเรื่องไปสู่การตั้งคำถามกับอุดมการณ์ที่แฝงอยู่เบื้องหลังการเล่าประวัติศาสตร์แบบนั้น ครูโอ กล่าวถึงครูบางกลุ่มที่สอนประวัติศาสตร์ได้ “เก่ง” ด้วยการเล่าเรื่องเหตุการณ์ราวกับเป็นละครที่ฟังสนุกมีดราม่าและทำให้ผู้เรียนอยากติดตามแต่เนื้อหาที่เล่าก็ยังคงติดอยู่กับชุดอุดมการณ์ชาตินิยมแบบเดิมๆ การสอนที่ขาดมุมมองวิพากษ์เช่นนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการ “กินยาพิษในรูปของขนม”
.
ปรากฏการณ์ทางสังคมในขณะนี้ ที่ทำให้นักเรียนและนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวและเริ่มสนใจศึกษาประวัติศาสตร์มากขึ้นเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่าระบบการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ของไทยจำเป็นต้องเปลี่ยน ระบบการศึกษาต้องเรียนรู้ที่จะอ่านทิศทางลมและปรับตัวไปตามความสนใจของผู้เรียน ไม่ใช้การบังคับให้ผู้เรียนมาสนใจสิ่งที่ระบบอยากสั่งสอน
.
กระนั้นก็ตาม การกล่าวว่าเราไม่จำเป็นต้องรอให้รัฐและผู้มีอำนาจยอมใส่เรื่อง 6 ตุลาฯ เข้าไปในบทเรียนอีกแล้วเพราะนักเรียนสามารถหาข้อมูลเองได้ผ่านสื่อออนไลน์นั้นก็คงไม่จริงไปเสียทั้งหมด เนื่องจากแม้ผู้เรียนจะเข้าถึงข้อมูลแต่กระกระบวนการเรียนการสอนในห้องก็ยังคงมีความจำเป็นต่อการสร้างเสริมทักษะการคิดเชิงประวัติศาสตร์ อีกทั้งการทำให้เนื้อหาเป็นทางการยังจำเป็นที่จะสร้างความมั่นใจให้กับครูผู้สอน และเป็นเงื่อนไขเพื่อให้ครูเริ่มได้รับการฝึกฝนทักษะและความรู้ที่เพียงพอจะนำการถกเถียงเกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ และเชื่อมโยงมันเข้ากับมโนทัศน์ที่ผู้เรียนต้องรู้เพื่อจะมีชีวิตอยู่ในสังคม