“11 เรื่องราว การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง” ประจำปี 2021

รวมบทสัมภาษณ์ Civic Space เรื่องราวความคิดเห็น ทั้ง 11 ประเด็นจากนักเรียน ครู อาจารย์ นักการศึกษา และนักกิจกรรม ที่เราเชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยน ถกเถียง ตั้งคำถาม หรือสร้างความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาพลเมืองประชาธิปไตยในมิติที่หลากหลายสำหรับปี 2022 ที่กำลังจะมาถึง…

12 ห้องเรียน สร้างพลเมืองประชาธิปไตย

รวบรวมบทสัมภาษณ์ Civic Classroom ตลอดปี 2021 ทางเราหวังว่า เรื่องราวทั้ง 12 ห้องเรียนจากครู อาจารย์ และนักกิจกรรม จะเป็นแรงบันดาลใจ ความเป็นไปได้ใหม่ และความหวัง ให้สำหรับใครหลายๆคนในการทำงานการศึกษาเพื่อประชาธิปไตยและความเป็นธรรม ในปี 2022 ที่กำลังมาถึง…

บทสัมภาษณ์ Civic Classroom ตอนที่ 20 : บทเรียนวิชาสังคมที่ว่าด้วยเรื่องเพศ ศาสนา และความไม่เป็นธรรม

หลายคนก็อินไปด้วยเพราะว่าบางเหตุการณ์อย่างการโทษเหยื่อก็ยังเป็นปัญหาร่วมที่คนในสังคมไทยเราเจอเหมือนกัน เราชวนคุยต่อว่าวัฒนธรรมชายเป็นใหญ่นี่มาจากความเชื่อแบบไหน นักเรียนค้นๆ กันต่อไปแน่นอนก็จะไปเจอว่าคำสอนแบบขงจื้อมีอิทธิพลมากกับการสร้างวัฒนธรรมนี้ในเกาหลี แต่มันไม่จบเท่านั้น ความไม่เท่าเทียมทางเพศที่มักจะถูกนำเสนอในแง่ปัญหาเชิงวัฒนธรรมหรือความเชื่อทางศาสนา อาจเป็นแค่ภาพลวงตาเพื่อให้กติกาของเกมที่ใหญ่กว่ายังคง Function ต่อไปก็ได้ บทสัมภาษณ์ Civic Classroom ตอนที่ 20 : บทเรียนวิชาสังคมที่ว่าด้วยเรื่องเพศ ศาสนา และความไม่เป็นธรรม โดย…

Civic space ตอนที่ 11 มองการสร้างพลเมืองเชิงวัฒนธรรม ผ่าน การจัดการศึกษาชายแดน

เวลาเรามองผู้เรียน เราไม่สามารถมองว่าเขามาโรงเรียนเพียงตัวเปล่า แต่เด็กมีภูมิหลังทางวัฒนธรรม ความเชื่อ ความคิดหรือความเป็นชาติพันธุ์ของเขาข้ามเข้ามาในพื้นที่ของโรงเรียนด้วย บทสัมภาษณ์ Civic space ตอนที่ 11 มองการสร้างพลเมืองเชิงวัฒนธรรม ผ่าน การจัดการศึกษาชายแดน อาจารย์วสันต์ สรรพสุข ที่พาให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า เรานิยามความเป็นพลเมืองผ่านการจัดการศึกษาอย่างไร เมื่อเราดูพื้นที่ชายแดนหรือการศึกษาชายแดน…

Civic space ตอนที่ 9 : มองการสร้างพลเมืองผ่าน Multicultural Education (การศึกษาพหุวัฒนธรรม )

โดย อาจารย์นันท์นภัส แสงฮอง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . หากถามว่า การศึกษาพหุวัฒนธรรมคืออะไร อาจไม่ได้มีนิยามที่ตายตัว ยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับคำนี้อย่างต่อเนื่อง และการจะนิยามคำ ๆ ว่าคืออะไร ก็ขึ้นอยู่บริบททางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเทศด้วย อย่างไรก็ตาม อยากจะชวนมาดูที่เป้าหมายของการศึกษาพหุวัฒนธรรมแทนการดูนิยาม…

Civic classroom ตอนที่ 17 ห้องเรียนสิทธิมนุษยชน

ห้องเรียนของอาจารย์พัทธ์ธีรา ได้หยิบยกเรื่องราวของคนไร้รัฐพลัดถิ่นมาเป็นประเด็นหลักในการสอน เพื่อพาให้ผู้เรียนได้สำรวจ ตั้งคำถาม และสะท้อนคิดกับคุณค่าความสำคัญของสิทธิมนุษยชนของตนเองและผู้อื่น เราได้มีโอกาสสอนในวิชา “สังคม สงครามและสันติ (มสสศ 102)” เป็นวิชาที่วางอยู่บนมุมมองสหวิทยาการทางสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ สิทธิมนุษยชน ความรุนแรงและสันติภาพ เป้าหมายก็เพื่อสร้างพลเมืองที่ตระหนักรู้เท่าทันและเป็นผู้ที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปในทางที่สันติและเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งประเด็นหนึ่งที่หยิบมาสอนคือเรื่องของสิทธิคนไร้รัฐพลัดถิ่น เพราะเราจะเห็นข่าวการละเมิดสิทธิของพลเมืองที่อยู่ตามชายขอบชายแดนประเทศ ทั้งที่เป็นกลุ่มคนที่อยู่มานาน…

Civic classroom ตอนที่ 16 ออกแบบวิชาอาเซียน อย่าเรียนแค่ “รู้”

ครูฐาปณี วงศ์สวัสดิ์ จากเครือข่าย Thai Civic Education ได้สะท้อนว่า ที่ผ่านมาการสอนอาเซียนซ้ำซาก วนอยู่กับเรื่องเดิม เนื้อหาเดิม และไม่น่าสนใจ เป็นการเรียนอาเซียนไม่ได้ไปไกลกว่าการนั่งจำชื่อ คำทักทาย การแต่งกาย หรือการท่องจำ ด้วยเหตุผลนี้ จึงทำให้ครูฐาปณี ได้ลองออกแบบบทเรียนแบบใหม่ที่เชื่อมโยงกับเรื่องความเป็นพลเมืองขึ้นมา…

Civic classroom ตอนที่ 15 : ห้องเรียนสังคมนิยม

จักรธร ดาวแย้ม จากกลุ่มมาร์กซิสต์ศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TUMS) คนรุ่นใหม่ที่อยากเห็นสังคมที่เท่าเทียม เขาจึงเริ่มทำกลุ่มศึกษาร่วมกับเพื่อนๆ ที่เสมือนเป็นห้องเรียนให้ผู้คนได้มาพูดคุยเกี่ยวกับการกดขี่ และความไม่ธรรมทางสังคม ผ่านมุมมองแบบฝ่ายซ้าย ซึ่งห้องเรียนที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่แค่การเอาทฤษฏีมาบอกเล่า แต่ได้เปิดให้ผู้เข้าร่วมได้ตั้งคำถาม วิเคราะห์ ดึงเอาประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนกัน เพื่อมองเห็นอำนาจที่ครอบงำ และค้นหาความเป็นได้ของสังคมที่ดีกว่าเดิม #thaiciviceducation ในการจัดการเรียนรู้ เราเน้นการให้ผู้เข้าร่วมได้เอาประสบการณ์รอบตัวที่เขาเจอในชีวิตออกมาพูด…

Civic Space ตอนที่ 6 : สอนเรื่องประชาธิปไตยด้วยหนังหรือซีรีส์

ทำไมเราควรสอนเรื่องประชาธิปไตยจากหนังหรือซีรีย์ เรื่องไหนบ้างที่ควรนำมาสอน แล้วจะสอนอย่างไร . หาคำตอบได้ใน Civic Space ตอนที่ 6 #Thaiciviceducation “The Good Doctor” . ครูสามารถใช้ภาพยนตร์เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ประชาธิปไตยที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับประเด็นที่อยู่นอกชั้นเรียนได้เป็นอย่างไร ภาพยนตร์ซีรีย์เรื่อง The Good…

Civic Space ตอนที่ 5 ทำไมครูควรสอนเรื่อง May Day วันแรงงาน

วันแรงงานสากล วันนี้มีความหมายอย่างไร แล้วทำไมครูควรสอนเรื่องนี้ ชวนอ่านบทสัมภาษณ์ของครูทั้ง 3 คนที่ได้มาแลกเปลี่ยนให้เห็นแง่มุมทางประวัติศาสตร์การต่อสู้ของแรงงานและคนทำงาน และการสอนควรให้นักเรียนได้มองเห็นแรงงานที่เชื่อมโยงถึงสิทธิ ความเป็นธรรม และคุณภาพชีวิต . คนทำงานหรือแรงงานเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนทั้งเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ครูควรสอนให้ผู้เรียนได้ตระหนักและเรียนรู้สิ่งนี้เป็นสามัญนึก ที่สำคัญไปกว่านั้นในวันที่ผู้เรียนก้าวเข้าไปเป็นคนทำงาน เขาจะตระหนักว่าเราทุกคนคือคนสร้างชาติ เราคือคนพัฒนาประเทศนี้ ดังนั้นเราคือผู้ทรงสิทธิที่จะเรียกร้องให้ประเทศนี้พัฒนาและต่อต้านสิ่งที่ขัดขวางความเจริญของประเทศ .…

1 2 3