บทสัมภาษณ์วันสากลแห่งการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติ (3)

การห้ามไม่ให้คนเหยียดกันเลยมันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ แต่ครูสามารถสอนให้เด็กควบคุมสัญชาตญาณพวกนี้ได้    มีประสบการณ์พบเจอการเหยียดผิว/เหยียดชาติจากนักเรียนหรือสังคมในโรงเรียนบ้างไหม ครูก้อง: เคยเจอการเหยียดเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ทั้งแบบโดยตรงและทางอ้อมครับ โดยตรงก็เช่นเพื่อนเหยียดเพื่อน หรือแม้แต่ผู้ปกครองเหยียดเพื่อนของลูก ในรูปแบบการกดขี่ทางคำพูดให้ตัวเองอยู่เหนือกว่าเขาหรือเพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์ของเขาลง ส่วนการเหยียดทางอ้อมหรือบางทีตัวของผู้กระทำอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เช่นผู้ใหญ่ใจดีเอาของ เสื้อผ้า ทุนการศึกษามามอบให้กับเด็กและได้กล่าวให้กำลังใจให้กับเด็กแต่พูดในเชิงให้เด็กเข้าใจและอดทนต่อชาติกำเนิดที่ตัวเองเป็นอยู่ ซึ่งผมมองแล้ว ในส่วนตัวคิดว่าผู้ใหญ่ใจดีเหล่านี้กำลังตอกย้ำให้เด็ก ๆ กลายเป็นพลเมืองชั้นสองของรัฐอยู่

บทสัมภาษณ์วันสากลแห่งการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติ (2)

การสร้างนักเรียนให้รู้สึกว่าคนเราทุกคนต่างก็เท่าเทียมกัน ทุกเพศ ทุกชาติ ทุกศาสนา ในชีวิตจริงเราไม่สิทธิ์สามารถที่จะตัดสินเลือกปฏิบัติต่อใครคนใดคนหนึ่งเพียงเพราะเขาแตกต่างจากเรา   มีประสบการณ์พบเจอการเหยียดผิว/เหยียดชาติจากนักเรียน หรือสังคมในโรงเรียนบ้างไหม ครูทิญาณี: เหยียดสีผิวไม่มีค่ะ แต่เหยียดชาติเคยเจอในห้องเรียนกับเด็กที่เป็นต่างชาติมาเรียนในบ้านเรา ครูจะมีส่วนช่วยถ่ายทอดค่านิยมเรื่องการไม่เหยียดผิว/เหยียดชาติได้อย่างไร กระบวนการเรียนการสอนที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจประเด็นนี้มากขึ้นสามารถเป็นรูปแบบใดได้บ้าง ครูทิญาณี: ใช้เกมสถานการณ์จำลองโดยเน้นความตระหนักในประเด็นสิทธิเสรีภาพ โดยสมมุติเหตุการณ์ทัวร์ท่องเที่ยวทั่วโลกกับเรือเจ้าสำราญโดยโดยมีตัวละครดังกล่าวล่องเรือในมหาสมุทรแปซิฟิก มีตัวละคร ได้แก่ เด็ก สตรี คนชรา คนติดเชื้อ HIV ทหาร  ครู  ตำรวจ  ชาวต่างชาติ ช่างเครื่อง คนขับเรือ…

บทสัมภาษณ์วันสากลแห่งการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติ

การเหยียดเชื้อชาติหรืออะไรก็ตาม เป็นการทำให้ผู้ที่ถูกกระทำกลายเป็นสิ่งที่แปลกแยก แตกต่างในแบบที่ด้อยคุณค่า พร้อมกับสร้างมาตรฐานคุณค่าของกรอบการเป็นมนุษย์ที่ดีไว้ไม่กี่แบบ     บทสัมภาษณ์ ‘ครูพล’ อรรถพล ประภาสโนบล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ปทุมธานี เนื่องในวันสากลแห่งการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติ (21 มีนาคม) กับบทบาทของครูและวิชาสังคมศึกษาในการสร้างค่านิยมเรื่องการยุติการเหยียดผิวและเหยียดเชื้อชาติ เข้าใจว่าการเหยียดผิว/เหยียดชาติ คืออะไร มีลักษณะแบบไหนบ้าง…

ความยุติธรรมทางสังคม กับการสอนวิชาสังคมศึกษา

บทสัมภาษณ์ อ.พสุธา โกมลมาลย์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเกี่ยวกับมโนทัศน์การสอนสังคมศึกษาและการใช้การศึกษาสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนประเด็นความยุติธรรมทางสังคม ในการเรียนการสอนสังคมศึกษา มีมโนทัศน์การเรียนรู้หลักๆ ที่พูดถึงความยุติธรรมทางสังคมบ้างไหม อย่างไร? อ.พสุธา: ถ้าจะให้พูดถึงการเรียนการสอนเรื่องความยุติธรรมทางสังคมในการเรียนการสอนสังคมศึกษาของสังคมไทยคงเป็นเรื่องตลกน่าเศร้า เพราะในความเป็นจริง เรากลับพบว่าในการเรียนการสอนด้านสังคมศึกษาของสังคมไทย ได้ละเลย การพูดถึงความยุติธรรมทางสังคม ทั้ง ๆ ที่มันเป็นมโนทัศน์หลักที่ทำให้สังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข…

มุมมองเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในสังคมครูไทย

“ความเสมอภาคทางเพศ” เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญในการสร้างสังคมที่มุ่งเน้นความเป็นธรรม วันนี้ Thai Civic Education ได้สัมภาษณ์ “ครูดรีม” หนึ่งในเครือข่ายครูที่ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการวิทยากรกระบวนการ รุ่นที่ 3 ถึงมุมมองเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศในสังคมครูไทย และแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่จะนำพาผู้เรียนไปสู่ความเข้าใจเรื่องประเด็นความเสมอภาคทางเพศ ในสังคมครูไทย ให้ความสำคัญกับเรื่องความเสมอภาคทางเพศมากน้อยแค่ไหน ส่วนตัวแล้วมีมุมมองอย่างไรกับเรื่องนี้???? ครูดรีม: เรื่องความเสมอภาคทางเพศในสังคมครูไทย…

บันทึกแอนน์ แฟร้งค์

  สมุดบันทึกปกผ้าลายสก๊อตสีขาวแดงของแอนน์ แฟร้งค์ เป็นบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในห้องลับที่หลบซ่อนจากการจับกุมของทหารนาซี ในตึกเลขที่ ๒๓๖ ถนนพริ้นเซ่นกรัคต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ บันทึกอันยอดเยี่ยมนี้ได้รับการยกย่องไปทั่วโลก และแปลออกไปเป็นหลายภาษา กล่าวได้ว่าเป็นวรรณกรรมเอกชิ้นหนึ่ง ว่ากันว่าหากเธอมีชีวิตอยู่จะเป็นนักเขียนที่สร้างสรรค์ผลงานที่ล้ำค่าให้แก่โลกนี้ได้อีกมากมาย   แอนน์ แฟร้งค์ เขียนบันทึกวันสุดท้าย เมื่อวันที่…

เสียงที่อยู่ในสายลม

…บางทีอาจไม่ใช่แค่คำตอบที่ล่องลอยอยู่ในสายลมแบบที่เพลงของบ็อบ ดีแล่นว่าไว้ มนุษย์โหดเหี้ยมต่อกัน ร้ายต่อกันแค่ไหน พยายามปกปิด บิดเบือนประวัติศาสตร์เพียงใด สุดท้ายก็ยังมีธรรมชาติร่วมรู้เห็นเป็นประจักษ์พยาน ขวามือไกล ๆ ในภาพ คือ ห้องรมแก๊ส ซ้ายมือ ด้านหน้าคือส่วนหนึ่งของเตาเผา เมื่อรถไฟมาถึงเอาช์วิตช์ ผู้โดยสารทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ จะโดนกวาดต้อนลงมาตั้งแถวที่ชานชาลา และถูกแบ่งเป็นสองกลุ่มทันที นั่นคือ กลุ่มที่…

อุดมศึกษากับการพัฒนาความเป็นพลเมือง: แนวคิดและผลการศึกษาเบื้องต้นจาก 6 มหาวิทยาลัยไทย

เอกสารประกอบการบรรยาย สัมมนาสาธารณะ “บทบาทอุดมศึกษาในยุคประชาธิปไตยถดถอย:การสร้างความสมดุลระหว่างเป้าหมายทางเศรษฐกิจและการสร้างความเป็นธรรมทางสังคม” วันที่ 20-21 เมษายน 2560 ณ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ดาวน์โหลด pdf  

เมื่อครูไทยเรียนรู้การสอนประชาธิปไตยในออสเตรเลีย เล่มที่ 2

หนังสือรวมบทความ เมื่อครูไทยเรียนรู้การสอนประชาธิปไตยในออสเตรเลีย เล่มที่ 2 นี้ เป็นการรวบรวมงานเขียนจากประสบการณ์การศึกษาดูงานของคณะครู นักการศึกษา และคนทำงานภาคประชาสังคมด้านการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง รุ่นที่ 2 ของเครือข่าย Thai Civic Education ซึ่งได้รับโอกาสเข้าร่วมในโครงการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนทางวิชาการ กับ Dr. David Zyngier และคณะ ที่มหาวิทยาลัยโมนาช…

1 11 12 13 14 15 20