‘แรงงาน’ กับมุมมองเรื่องความเป็นธรรมทางสังคม

  ปฏิกิริยาของผู้คนในสังคมสื่อถึงอุดมคติเกี่ยวกับสังคมที่ดีของเราเอง สำหรับฝ่ายที่ไม่ค่อยเข้าข้างแรงงาน มักมองว่าความไม่เท่าเทียมเป็นธรรมชาติของการแข่งขัน  หากเราเชื่อในเสรีนิยมในทางเศรษฐกิจก็จำต้องยอมรับว่าการแข่งขันย่อมทำให้เกิดคนที่ชนะและคนที่แพ้อย่างเลี่ยงไม่ได้…แต่หากเราเชื่อว่ามันไม่แฟร์สำหรับการเลือกเกิดไม่ได้ ก็ย่อมเลือกที่จะหาทางแก้ไขสภาพดังกล่าว ตราบใดที่เรายังไม่สามารถไปพ้นจากระบบการผลิตแบบนี้ได้    ทำไมจึงคิดว่าประเด็นเรื่องแรงงานเป็นเรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องนำมาถกเถียงพูดคุยกัน? จะตอบคำถามข้างต้นได้ตรงกับที่คิด อาจต้องทำสองเรื่องให้ชัดคือ แรงงานที่ว่าคือคนกลุ่มไหน และสำคัญในประเด็นอะไร เรื่องใด ประเด็นแรก แรงงานสำหรับผมอยู่ในความหมายเฉพาะกลุ่มคนบางพวก และเป็นบทบาท/สถานะของพวกเขาภายใต้ระบบการผลิตแบบนี้เท่านั้น ประเด็นที่สอง แรงงานมีความสัมพันธ์กับมิติของการผลิต…

บทวิจารณ์สารคดีเรื่อง “The Graduation (2015)”

ถ้าเราลองให้อาจารย์ด้านการกำกับภาพยนตร์ได้ออกแบบระบบคัดเลือกนักเรียนที่ในอนาคตจะมีโอกาสเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จอย่าง สตีเวน สปีลเบิร์ก ฟรานสิส คาโปลา หรือนัฐวุฒิ พูนพิริยะ คุณคิดว่าเราจะได้ระบบแบบไหนออกมา? คำตอบหนึ่งที่เป็นไปได้คือการให้นักเรียนทั้งหมดที่สนใจเรียนด้านภาพยนตร์ทำข้อสอบระดับชาติที่เป็นคำถามปรนัย นำคะแนนมาคัดเลือกคนเข้าเรียน โดยคาดหวังว่านักเรียนที่ทำข้อสอบได้คะแนนดีจะสั่งสมความชอบและความสามารถเพียงพอที่จะเป็นคนทำหนังที่ดีได้ในระหว่างที่เขาเรียนอยู่ในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งในความเป็นจริงแล้วเขาอาจแค่สมัครเรียนตามกระแสสังคมโดยไม่รู้ว่าตนเองสนใจอะไร สารคดีเรื่อง the Graduation เสนอให้เราเห็นทางออกอีกทางหนึ่งที่ดูจะเป็นขั้วตรงข้ามกับทางแรก ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ติดตามระบบการคัดเลือกสุดโหดหินของโรงเรียน La Fémis…

School Life

สารคดีเรื่อง School Life ฉายภาพชีวิตประจำวันของนักเรียนประถมในโรงเรียนประจำ Headfort ที่ตั้งอยู่ในประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งมีเด็กนักเรียนทั้งจากในพื้นที่ และเด็กต่างชาติที่อาจมาจากแดนไกล เช่น ประเทศแทนซาเนีย และเกาหลีใต้ สารคดีบอกเล่าเรื่องราวตลอดหนึ่งปีการศึกษา และแสดงให้เราเห็นภาพชีวิตที่เต็มไปด้วยสีสันของชีวิตนักเรียนทั้งเก่าและใหม่  School life ทำให้ชวนเราคิดถึงเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน และการจัดการสภาพแวดล้อมโรงเรียนที่ส่งผลต่อการตัวตน ความคิดสร้างสรรค์…

บทสัมภาษณ์วันสากลแห่งการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติ (4)

ครู ต้องเป็นแบบอย่างในการเห็นคุณค่าของทุก ๆ คนที่แตกต่างกัน และให้ความแตกต่างนั้นอยู่รวมกันในสังคมได้ ต้องออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนเห็นคุณค่าของคำว่า มนุษย์ ที่เท่าเทียมกัน จะเอารูปลักษณ์ภายนอก ชาติกำเนิด ถิ่นอาศัย หรือจุดด้อยของคนอื่น มาตัดสินแบ่งชนชั้นกันไม่ได้   มีประสบการณ์พบเจอการเหยียดผิว/เหยียดชาติจากนักเรียน หรือสังคมในโรงเรียนบ้างไหม ครูคมเพชร: เนื่องจากผมสอนคือโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์…

บทสัมภาษณ์วันสากลแห่งการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติ (3)

การห้ามไม่ให้คนเหยียดกันเลยมันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นสัญชาตญาณของมนุษย์ แต่ครูสามารถสอนให้เด็กควบคุมสัญชาตญาณพวกนี้ได้    มีประสบการณ์พบเจอการเหยียดผิว/เหยียดชาติจากนักเรียนหรือสังคมในโรงเรียนบ้างไหม ครูก้อง: เคยเจอการเหยียดเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ทั้งแบบโดยตรงและทางอ้อมครับ โดยตรงก็เช่นเพื่อนเหยียดเพื่อน หรือแม้แต่ผู้ปกครองเหยียดเพื่อนของลูก ในรูปแบบการกดขี่ทางคำพูดให้ตัวเองอยู่เหนือกว่าเขาหรือเพื่อลดทอนความเป็นมนุษย์ของเขาลง ส่วนการเหยียดทางอ้อมหรือบางทีตัวของผู้กระทำอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ เช่นผู้ใหญ่ใจดีเอาของ เสื้อผ้า ทุนการศึกษามามอบให้กับเด็กและได้กล่าวให้กำลังใจให้กับเด็กแต่พูดในเชิงให้เด็กเข้าใจและอดทนต่อชาติกำเนิดที่ตัวเองเป็นอยู่ ซึ่งผมมองแล้ว ในส่วนตัวคิดว่าผู้ใหญ่ใจดีเหล่านี้กำลังตอกย้ำให้เด็ก ๆ กลายเป็นพลเมืองชั้นสองของรัฐอยู่

บทสัมภาษณ์วันสากลแห่งการยุติการแบ่งแยกเชื้อชาติ (2)

การสร้างนักเรียนให้รู้สึกว่าคนเราทุกคนต่างก็เท่าเทียมกัน ทุกเพศ ทุกชาติ ทุกศาสนา ในชีวิตจริงเราไม่สิทธิ์สามารถที่จะตัดสินเลือกปฏิบัติต่อใครคนใดคนหนึ่งเพียงเพราะเขาแตกต่างจากเรา   มีประสบการณ์พบเจอการเหยียดผิว/เหยียดชาติจากนักเรียน หรือสังคมในโรงเรียนบ้างไหม ครูทิญาณี: เหยียดสีผิวไม่มีค่ะ แต่เหยียดชาติเคยเจอในห้องเรียนกับเด็กที่เป็นต่างชาติมาเรียนในบ้านเรา ครูจะมีส่วนช่วยถ่ายทอดค่านิยมเรื่องการไม่เหยียดผิว/เหยียดชาติได้อย่างไร กระบวนการเรียนการสอนที่จะช่วยให้เด็กเข้าใจประเด็นนี้มากขึ้นสามารถเป็นรูปแบบใดได้บ้าง ครูทิญาณี: ใช้เกมสถานการณ์จำลองโดยเน้นความตระหนักในประเด็นสิทธิเสรีภาพ โดยสมมุติเหตุการณ์ทัวร์ท่องเที่ยวทั่วโลกกับเรือเจ้าสำราญโดยโดยมีตัวละครดังกล่าวล่องเรือในมหาสมุทรแปซิฟิก มีตัวละคร ได้แก่ เด็ก สตรี คนชรา คนติดเชื้อ HIV ทหาร  ครู  ตำรวจ  ชาวต่างชาติ ช่างเครื่อง คนขับเรือ…

ความยุติธรรมทางสังคม กับการสอนวิชาสังคมศึกษา

บทสัมภาษณ์ อ.พสุธา โกมลมาลย์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเกี่ยวกับมโนทัศน์การสอนสังคมศึกษาและการใช้การศึกษาสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนประเด็นความยุติธรรมทางสังคม ในการเรียนการสอนสังคมศึกษา มีมโนทัศน์การเรียนรู้หลักๆ ที่พูดถึงความยุติธรรมทางสังคมบ้างไหม อย่างไร? อ.พสุธา: ถ้าจะให้พูดถึงการเรียนการสอนเรื่องความยุติธรรมทางสังคมในการเรียนการสอนสังคมศึกษาของสังคมไทยคงเป็นเรื่องตลกน่าเศร้า เพราะในความเป็นจริง เรากลับพบว่าในการเรียนการสอนด้านสังคมศึกษาของสังคมไทย ได้ละเลย การพูดถึงความยุติธรรมทางสังคม ทั้ง ๆ ที่มันเป็นมโนทัศน์หลักที่ทำให้สังคมสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข…

เมื่อครูไทยเรียนรู้การสอนประชาธิปไตยในออสเตรเลีย เล่มที่ 2

หนังสือรวมบทความ เมื่อครูไทยเรียนรู้การสอนประชาธิปไตยในออสเตรเลีย เล่มที่ 2 นี้ เป็นการรวบรวมงานเขียนจากประสบการณ์การศึกษาดูงานของคณะครู นักการศึกษา และคนทำงานภาคประชาสังคมด้านการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง รุ่นที่ 2 ของเครือข่าย Thai Civic Education ซึ่งได้รับโอกาสเข้าร่วมในโครงการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนทางวิชาการ กับ Dr. David Zyngier และคณะ ที่มหาวิทยาลัยโมนาช…

รายงานสรุปเวที ประชาธิปไตย การศึกษา และความเป็นพลเมือง ICRID 2017

วันที่ 24 มิถุนายน 2017 เวลา 9:45-16:00 ห้อง 103 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในหัวข้อต่างๆ ดังนี้ ประชาธิปไตย การศึกษา และ ความเป็นพลเมือง ในวิกฤติการณ์โลก :…

เอกสารประกอบการบรรยายงานเสวนาสาธารณะ “ประชาธิปไตย การศึกษา และความเป็นพลเมือง”

วันที่ 24 มิถุนายน 2017 เวลา 09:45-16:00 น. ณ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ Dr. Joel Westheimer, University Research Chair in Democracy…

1 5 6 7 8 9 12