Civic Teacher ตอนที่ 3 : ภาพยนตร์เรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า …

Civic Teacher ตอนที่ 3 : ภาพยนตร์เรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า … บทสัมภาษณ์ครูและนักการศึกษาในเครือข่าย Thai Civic Education กับมุมมองการนำภาพยนตร์ไปใช้สอนเรื่องพลเมือง ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าภาพยนตร์หลายเรื่องสามารถสอนได้ทั้งประเด็นความเท่าเทียม การไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงอคติทางเชื้อชาติ ภาพยนตร์ Wonder…

Civic Classroom ตอนที่ 3 : ความเป็นพลเมือง สร้างได้ในคาบเรียน IS

ครูศิริวัฒน์ ชูแสงนิล โรงเรียนโยธินบำรุง นครศรีธรรมราช ครูสอนวิชาสังคมศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้สอนวิชาค้นคว้าอิสระหรือวิชา IS ควบคู่ไปด้วย เขาเปลี่ยนวิชานี้จากแค่ให้นักเรียนทำเล่มรายงานส่ง มาสู่เป้าหมายเพื่อสร้างทักษะพลเมืองให้มีความฉลาดทางดิจิตอล รวมถึงสร้างสำนึกความเป็นพลเมืองท้องถิ่นชุมชนขึ้นในห้องเรียน เพื่อที่ให้นักเรียนของเขามองเห็นปัญหาที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ผ่านการค้นคว้า ลงพื้นที่ วิเคราะห์ข้อมูล แล้วนำมาสู่ข้อสรุปถึงแนวทางแก้ไขทั้งในระดับตัวเองและระดับสังคม วิชาค้นคว้าอิสระหรือที่เรารู้จักกันดีในวิชา IS ครูศิริวัฒน์…

Civic Teacher ตอนที่ 2 : Covid-19 สอนเรื่องพลเมืองอย่างไรได้บ้าง

“เห็นได้ว่าสถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้น ได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย ทั้งปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งส่งผลให้ราคาของโรคระบาดของคนแต่ละกลุ่มไม่เท่ากัน การทำงานของรัฐไทยที่เป็นรัฐราชการรวมศูนย์ จึงทำให้ไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการตีตราและการสร้างอคติของคนในสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โรคระบาด จึงเป็นโจทย์สำคัญที่คุณครูจะชวนนักเรียนวิพากษ์และหาทางออกร่วมกันให้กับอนาคตของสังคมไทย” _ Civic Teacher ตอนที่ 2 : Covid-19 สอนเรื่องพลเมืองอย่างไรได้บ้าง บทสัมภาษณ์ครูในเครือข่าย Thai…

บทบาทโรงเรียนกับการสร้างสังคมประชาธิปไตย : ครูจักรกฤษณ์ ต่อพันธ์

“สิ่งที่สอนในโรงเรียนไม่ใช่การศึกษา แต่เป็นวิธีการศึกษา เพราะการศึกษาไม่ใช่การเตรียมตัวของชีวิต มันคือชีวิตในตัวมันเอง” จากความล้มเหลวในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยตลอด 88 ปี และสถานการณ์ ความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงในสังคมไทยในปัจจุบันที่เกิดขึ้นจากความเห็นต่างของคนในประเทศเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทำให้เราต้องย้อนไปความเข้าใจคำว่า “ประชาธิปไตย” ซึ่งแต่ละคนต่างมีเหตุผลซึ่งขึ้นอยู่กับความจำเป็นพื้นฐานที่แตกต่างกัน ทำให้การจัดการเรียนการสอนประชาธิปไตยในระบบการศึกษาและโรงเรียนของไทยเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการศึกษาของไทยที่ถูกอำนาจทางการเมืองครอบงำมักจะสร้างสังคมที่ยอมรับความเป็นปกติเมื่อถูกอำนาจที่เหนือกว่ากดทับ ซึ่งเรียกว่าเป็นการเอา “การเมืองนำการศึกษา” การจัดการเรียนการสอนประชาธิปไตยในโรงเรียนจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างสังคมที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น หรือเรียกง่ายๆ…

Civic Classroom ตอนที่ 2 : ใช้GPS ปักหมุดสอนเรื่องความไม่เป็นธรรม

ครูชัยวัฒน์ สมเกียรติประยูร โรงเรียนพระโขนงพิทยาลัย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาเริ่มใช้เครื่องมือ GPS เครื่องมือง่ายๆที่นักเรียนรู้จักมาเป็นจุดเริ่มต้นสอนวิชาภูมิศาสตร์ การปักหมุดจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่งไม่ใช่แค่คำนวณระยะเวลาเพื่อการเดินทางเท่านั้น แต่เขาได้ใช้คำถามสำคัญว่าว่า “ระหว่างทางนักเรียนเห็นความความไม่เป็นธรรมอย่างไรบ้าง” ครูชัยวัฒน์ ตั้งใจว่า วิชาภูมิศาสตร์ สิ่งแรกคือการให้นักเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือภูมิศาสตร์ โดยเฉพาะGPS เพราะเป็นสิ่งที่นักเรียนใช้เป็นประจำ ไม่อยากให้เป็นเพียงเปิดดูทางซ้าย-ขวา แต่นักเรียนต้องรู้วิธีเดินทาง…

Civic Teacher ตอนที่ 1 : 1 ปีหลังการเลือกตั้ง กับอนาคตการสร้างพลเมือง

“ปลุกความต้องการการมีส่วนร่วมทางการเมืองของทุกคนขึ้นมาแล้ว” . “หลังการเลือกตั้ง ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมในด้านต่างๆ ยังคงดำรงอยู่และยิ่งปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้น” . “กลับห่วงความมั่นคงในอำนาจจนลืมความจำเป็นที่ประเทศควรมีไป “ . “ครูจำเป็นต้องสร้างทักษะกระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ให้เกิดขึ้นในการจัดการเรียนการสอนเพื่อความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย” . “ครูต้องเปิดพื้นที่ให้นักเรียนได้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นกับสังคมไทย” .…

Civic Classroom ตอนที่ 1 : เมื่อพหุวัฒนธรรม ความเป็นธรรม พลเมืองโลกสอนผ่านศาสนา

ครูธนัญญา ต่อชีพ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ครูสังคมศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เธอได้ใช้แนวคิดพหุวัฒนธรรม ความเป็นธรรม พลเมืองโลก มาสอนผ่านการหยิบยกกรณีต่างๆทั้งในระดับท้องถิ่น และระดับโลกขึ้น โดยให้นักเรียนได้เรียนรู้ อภิปราย สืบค้น เพื่อให้นักเรียนของเธอได้เข้าใจความแตกต่างทางศาสนาและความเชื่อ มองเห็นความเชื่อในฐานะเครื่องมือผลิตซ้ำความไม่เป็นธรรม ครูธนัญญามองว่า การสอนศาสนาจะต้องทำให้นักเรียนมีแนวคิดพหุวัฒนธรรมเป็นพื้นฐานให้ได้ก่อน ผ่านการเรียนรู้เรื่องความแตกต่างทางความเชื่อของแต่ละศาสนา ดังนั้นในชั่วโมงแรกๆ…

โรงเรียนขนาดเล็กกับการพัฒนาพลเมืองท้องถิ่น

ข้อถกเถียงอย่างต่อเนื่องจากฝ่ายที่สนับสนุนให้ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กตั้งอยู่บนเหตุผลว่าโรงเรียนขนาดเล็กใช้งบประมาณไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับผลการสัมฤทธิ์ทางการศึกษา พวกเขามองว่ากระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณมากที่สุดในประเทศ ทางแก้จึงไม่ได้อยู่ที่การขาดงบประมาณ แต่อยู่ที่การบริหารงบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ยิ่งบวกกับแนวโน้มการลดลงของประชากรด้วยแล้ว ยิ่งเป็นเหตุให้การยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็กเป็นเรื่องชอบธรรม โดยอ้างว่าการโยกย้ายนักเรียนเข้าสู่โรงเรียนขนาดใหญ่นั้นจะช่วยลดต้นทุนต่อหัว เกิดการประหยัดจากขนาด (economy of scale) สามารถควบคุมคุณภาพ ทำให้ผลการศึกษาของนักเรียนดีขึ้น และตอบโจทย์การเข้าถึงการศึกษาที่ดีได้อย่างเท่าเทียม คงไม่มีใครเถียงว่าหากเราสามารถให้การศึกษาที่ดีขึ้นในราคาที่ต่ำลงได้นั้นเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่าข้อเสนอและแนวทางการดำเนินนโยบายของฝ่ายที่เสนอให้ยุบโรงเรียนขนาดเล็กนั้นตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่คลาดเคลื่อนอยู่สองประการ ประการแรกคือการวิเคราะห์ปัญหาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่ผิดทาง…

หนังสือรวมบทความ “ครูผู้สร้างพลเมือง”

หนังสือรวมบทความ “ครูผู้สร้างพลเมือง” เล่มนี้ เกิดขึ้นด้วยเจตนารมณ์ที่จะเปิดพื้นที่ให้ครูหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในเครือข่าย Thai Civic Education ที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในโรงเรียนหลากหลายพื้นที่ได้มีโอกาสบอกเล่าเรื่องราว สื่อสารความคิด และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการทำงานของพวกเขาต่อวงวิชาชีพ ผู้สนใจ และสังคมในวงกว้าง ดาวน์โหลดPDF

การสร้างพลเมืองผ่านกระบวนการสืบสอบทางปรัชญา

สำหรับหลาย ๆ คน หัวใจของประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งเพื่อหาตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ตัดสินใจแทนเราในสภาและผลักดันนโยบายตามที่พวกเขาได้หาเสียงไว้ สาเหตุที่ต้องวางระบบแบบนี้ก็เพราะในสังคมที่มีประชากรจำนวนมาก จึงไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยทางตรงที่ให้ประชาชนทุกคนเข้ามาอยู่ในสภาร่วมกันได้จริง ทำได้เพียงเลือกตัวแทนที่เราไว้ใจในแนวคิดและความสามารถเข้าไปทำหน้าที่แทนเราเท่านั้น แม้ระบบตัวแทนแบบนี้จะมีข้อดีในการแบ่งงานกันทำและลดภาระที่ทุกคนจะต้องแบ่งเวลาเข้ามาทำงานทางการเมือง แต่มันก็สร้างปัญหาตามมา ในทางปฏิบัติ มันเสี่ยงจะทำให้เกิดปัญหา “ประชาธิปไตย 4 วินาที” ที่การมีส่วนร่วมของประชาชนถูกลดทอนลงเหลือเพียงการหย่อนบัตรเลือกตั้งเท่านั้น โดยละเลยมิติการมีส่วนร่วมผ่านการแสดงความคิดเห็นและริเริ่มนโยบายโดยประชาชนหรือตรวจสอบการทำงานของผู้แทนหลังการเข้ารับตำแหน่ง เมื่อเป็นเช่นนั้นก็เสี่ยงที่นโยบายที่ออกมาจะไม่สะท้อนความต้องการของประชาชนจริง ๆ …

1 3 4 5 6 7 12